ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี
A study on the role of community participation in school administrations of basic school under Prachinburi Primary Educational Service Area Office
มนัญญา ปัดถาวงษ์
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2562
การบริหารสถานศึกษาเป็นกระบวนการสำคัญที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา เพื่อวิเคราะห์แก้ไขสภาพปัญหา พัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการของชุมชนในท้องถิ่น ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษายิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี จำแนกตามเขตพื้นที่การศึกษา และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 335 คน ได้มาด้วยวิธีการใช้ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน และสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.66 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และตรวจสอบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีการตรวจสอบความแตกต่างของเชฟเฟ่
School administration is an important process that requires cooperation from all parties, especially giving an opportunity for community participation in the administration in order to analyze, problem solve and develop curriculum that are suitable and match the local community needs, which, then will lead to a successful school administration. This research had objectives to study and compare the community participation role in school administration of basic schools under Prachinburi Primary Educational Service Area Office. The sample was a group of 335 school administrators and teachers in Prachinburi province and was determined by Krejcie and Morgan’s table and proportionate stratified random sampling. The research instrument was a five-level rating scale questionnaire with a discrimination of between 0.22-0.66 and a reliability of 0.86. The statistics used for data analysis were: percentage, mean, standard deviation, T-test, One-way ANOVA and Scheffe’s paired difference test.
การมีส่วนร่วมของชุมชน, การบริหารสถานศึกษา
Community participation, School administrations
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-02-13 09:20:30