ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง
A Study of the Skill of Administrators under Rayong Primary Educational Service Area Office
สุดารัตน์ เหมาะสมาน
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2561
ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้มีบทบาทที่สำคัญต่อการดำเนินงานที่จะนำพาสถานศึกษาไปสู่มาตรฐานละเป้าหมายที่กำหนด ผู้บริหารสถานศึกษาจึงมีความสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาสู่การปฏิบัติ เพื่อพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและขนาดของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 และ เขต 2 จำนวน 346 คน ได้มาด้วยวิธีการใช้ตารางเทียบของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.53-0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีการตรวจสอบความแตกต่างของเชฟเฟ่ (Scheffe’)
The role of the school administrators in the implementation of standards and goals of the school is an important one. Administrators are an important element in the leadership that puts educational policies into practice and develops quality standards of education. The purposes of thin research were to study and compare the skills of school administrators under the Rayong Primary Educational Service Area Office in relation to the experience of the practitioners and the size of the school. The sample size of 346 administrators and teachers from Rayong Primary Educational Service Area Office was determined by Krejcie and Morgan’s random stratified proportion method. The discrimination ranged from 0.53 to 0.85, and the reliability was at 0.98. The statistical analysis methods used were: percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance (One - way ANOVA) and Scheffe’s method was used to compare the pairs.
ทักษะการบริหาร, ผู้บริหารสถานศึกษา
Administration skills, Administrators
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-02-03 11:28:24