ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17
Learning organization of schools under the Secondary Educational Service Area Office 17
สุทญา อร่ามรัตน์
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2562
องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นการพัฒนาสถานศึกษาร่วมสมัยรูปแบบหนึ่งที่นำพาไปสู่ความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน องค์กรแห่งการเรียนรู้มีโครงสร้างแบบยืดหยุ่นซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมองค์กรและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้สถานศึกษาดำรงอยู่ได้ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จำนวน 320 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางเทียบกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกนโดยสุ่มตัวอย่างแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.64-0.93 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการตรวจสอบความแตกต่างของเชฟเฟ่
A learning organization is one of the contemporary forms of school development that leads to sustainable and mostly effective achievement by increasing the capacity of personnel through mutual sharing and learning. The learning organization has a flexible structure that mixes between organizational culture and has a suitable technological application such that the schools are able to exist despite the continuously changing circumstances. The objectives of this research were to study and compare learning organization of schools under the Secondary Educational Service Area Office 17. The sample size was calculated using Krejcie and Morgan’s table and proportionate stratified random sampling. The instrument used for collecting data was a five-level rating scale questionnaire with a discrimination of 0.64-0.93 and a reliability of 0.96. The statistics used for data analysis were: percentage, mean, standard deviation, T-test, One-way analysis of variance (One-way ANOVA) and Scheffe’s paired difference test
องค์กรแห่งการเรียนรู้
Learning organization
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-01-27 16:24:14