ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ตัวแบบการจัดการปกครองท้องถิ่นบนฐานแนวใหม่ : กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออก
A Model for New Local Governance: A Case Study of Local Administrative Organizations in the Eastern Region
จรรยาศิริ เดชปภา
สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ดุษฎีนิพนธ์
2566
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของการจัดการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย การวิพากษ์ตัวแบบการจัดการปกครองท้องถิ่นแนวเก่าที่นำมาใช้ในประเทศไทย และการนำเสนอ ตัวแบบการจัดการปกครองท้องถิ่นแนวใหม่ในบริบทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในภาคตะวันออก วิธีวิทยาการวิจัยจะใช้แนวสหวิทยาการแบบข้ามพ้นสาขา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพใน 3 รูปแบบคือ การวิจัยจากเอกสาร การวิจัยกรณีศึกษา และการวิจัยโดยการถอดบทเรียน ผลการวิจัยนี้พบว่า พัฒนาการของการจัดการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทยสามารถ แบ่งออกเป็นสองยุคใหญ่ ๆ ได้แก่ ยุคการปกครองท้องถิ่น (Local Government) ระหว่าง พ.ศ. 2440-2540 ไปสู่การจัดการปกครองท้องถิ่น (Local Governance) ในช่วง พ.ศ. 2540-2564 ส่วนการวิพากษ์ตัวแบบการจัดการปกครองท้องถิ่นแนวเก่าที่นำมาใช้ในประเทศไทยนั้น พบว่ามี อุปสรรคทั้งหมด 4 ประเด็น ได้แก่ อุปสรรคของการใช้อำนาจสาธารณะแบบเอกนิยม (Monism) อุปสรรคของระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน อุปสรรคของการพัฒนาการทำงานท้องถิ่นให้เป็นแบบระบบราชการ (Bureaucratization) และอุปสรรคของความชะงักงันในการกระจายอำนาจอย่างไรก็ดีดุษฎีนิพนธ์นี้ได้เสนอตัวแบบการจัดการปกครองท้องถิ่นแนวใหม่ในบริบทขององค์กรปกครองท้องถิ่นภาคตะวันออก โดยคำนึงถึงหลักการที่สำคัญคือ การลดอำนาจรัฐและเพิ่มอำนาจประชาชน การเพิ่มบทบาทของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) การเสนอโครงสร้างอำนาจแบบหลายศูนย์ (Polycentricity) แนวคิดชุมชนจัดการตนเอง (Self-governance) และแนวคิดสิทธิชุมชน
This research aimed to: study the development of local government management in Thailand, critique the old local government management models, and present a new model of local governance in the context of local administrative organizations in the eastern region. The methodology used in this research was an interdisciplinary approach that crossed fields using qualitative research methods in three formats: documents research, case study research and extracting lessons learned from previous research. The results of this research found that the development of local government management in Thailand was divided into two major eras, the era of local government from 1897-1997 and the era of local governance from 1997-2021. The critique of the models for these forms of local government found four obstacles which included: obstacles to use of public power by monism, obstacles to representative democracy, obstacles to development of proper bureaucratization, and obstacles of stagnation in decentralization. This research proposed a new model for local governance in the context of local administrative organizations in the eastern region by taking into account the following principles: reducing centralized state power, increasing people’s power, increasing the role of participatory democracy, a new polycentric power structure, self-governance in communities and the concept of community rights.
การปกครองท้องถิ่น, การจัดการปกครองท้องถิ่น, ตัวแบบการจัดการปกครองท้องถิ่นแนวใหม
Local Government, Local Government Management, New Local Governance Model
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-01-05 19:38:24