ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Strategy for Sustainable Development of a Green University at Rambhai Barni Rajabhat University
ฐิติรัตน์ อิทธิมีชัย
สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ดุษฎีนิพนธ์
2566
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาช่องว่างระหว่างมาตรฐานสีเขียวของประเทศอินโดนีเซียกับสภาวะที่เป็นจริงของมหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณีและ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี และ 3) นําเสนอตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างยั่งยืนในอนาคต วิธีการศึกษาในดุษฎีนิพนธ์นี้จะใช้แนวการวิจัยเชิงสหวิทยาการ โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งมีเทคนิคการวิจัยที่สําคัญคือ การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์ ข้อค้นพบจากการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาช่องว่างระหว่างมาตรฐานสีเขียวของประเทศอินโดนีเซียกับสภาวะที่เป็นจริงของมหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี ประกอบด้วย 4 ปัญหาหลัก (1) การจัดการด้านการศึกษา (2) การจัดการด้านพื้นที่ (3) การจัดการด้านชุมชน และ (4) การจัดการด้านวัฒนธรรม 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณีจะประกอบด้วย 6 ปัจจัย คือ (1) ความมุ่งมั่นของผู้นํา (2) การสร้างเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยสีเขียว (3) การมีส่วนร่วม (4) การศึกษาและการเรียนรู้ (5) การบูรณาการการวิจัย และ (6) การจัดการประสิทธิภาพ และ 3) ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างยั่งยืนในอนาคตควรเน้นยุทธศาสตร์การวางโครงสร้างพื้นฐานภูมิทัศน์สีเขียว ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อความยั่งยืน ยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายชุมชนเพื่อสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์การสร้างจิตสํานึกวัฒนธรรมองค์กรสีเขียว ยุทธศาสตร์การบูรณาการการวิจัย นวัตกรรม และถ่ายทอดเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน ยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์กลางการเรียนรู้และบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน และยุทธศาสตร์การศึกษาตลอดชีวิต
This dissertation aimed to: 1) study the gaps between the UI Green Metric standard and the actual conditions of Rambhai Barni Rajabhat University, 2) study the factors affecting Rambhai Barni Rajabhat University being a green university, and 3) present a strategic conceptual model for sustainable development of a green university in the future. This dissertation used interdisciplinary research with qualitative research methods including documentary research and interviews. The findings were as follows: 1) there were some gaps between the UI GreenMetric standard and the actual conditions of Rambhai Barni Rajabhat University which could be divided into 4 main areas: (1) educational management, (2) space management, (3) community management, and (4) cultural management; 2) for the factors which affect Rambhai Barni Rajabhat University being a green university, it consisted of 6 elements: (1) commitment of leaders, (2) creation of a network of green university partners, (3) participation, (4) education and learning, (5) research integration, and (6) performance management; and 3) the strategies for developing a sustainable green university in the future should focus on: a strategy for planning green infrastructure and landscape, a strategy for managing sustainable education, a strategy for building community networks for the environment, a strategy for growing awareness of green organizational culture, a strategy for integrating with research and innovation and transferring knowledge for sustainable local development, a strategy for developing learning centers and academic services for sustainable local development, and a strategy for lifelong education.
มหาวิทยาลัยสีเขียว, มหาวิทยาลัยที่ยั่งยืน, ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
Green university, Sustainable university, Strategy for the university development
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-04-05 13:49:32