ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การสร้างความยั่งยืนทางอาหารท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี
Creating a Guideline for the Sustainable Development of Local Food in Chanthaburi Province
พระอธิการสฤษธ์ มหายโส (ฉัตรทอง)
สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ดุษฎีนิพนธ์
2566
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจภูมิปัญญาเกี่ยวกับอาหารท้องถิ่น เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผล ต่อการสร้างความยั่งยืนของอาหารท้องถิ่น และเพื่อเสนอแนะตัวแบบการพัฒนาความยั่งยืนของ อาหารท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี เป็นการใช้แนวทางการวิจัยแบบสหวิทยาการ โดยวิธีการผสมผสานร่วมกันระหว่างการวิจัยเชิงสำรวจ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ในปัจจุบันภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรีโดยภาพรวมนั้นอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย โดยมีรายการอาหารท้องถิ่นที่ยังคงอยู่ในระดับค่อนข้างสูง 1 รายการ ระดับปานกลางมีจำนวน 10 รายการ ระดับค่อนข้างน้อยมีจำนวน 11 รายการ และรายการอาหารท้องถิ่นที่สูญเสียภูมิปัญญาไปแล้วมีจำนวน 3 รายการ ส่วนปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการสร้างความยั่งยืนของอาหารท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี พบว่ามีอยู่ 5 ประการ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการบริโภคอาหารการเปลี่ยนแปลงของแหล่งผลิตวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารท้องถิ่น การสืบทอดภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น ภาพลักษณ์ของอาหารท้องถิ่น และความพร้อมของแหล่งบริการอาหารท้องถิ่น ในการวิจัยนี้พบข้อเสนอแนะตัวแบบเพื่อการพัฒนาความยั่งยืนของอาหารท้องถิ่นของจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ มาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยในการขับเคลื่อนให้สามารถเกิดผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ มาตรการส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นมาตรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค มาตรการสร้างภาพลักษณ์ของอาหารท้องถิ่น มาตรการสร้างความพร้อมของแหล่งบริการอาหารท้องถิ่น และมาตรการอนุรักษ์แหล่งวัตถุดิบในการนำมาประกอบอาหารท้องถิ่น
The purposes of this research were to: explore the wisdom about local food, study the factors affecting the sustainable creation of the local dishes, and suggest a model for sustainably developing local food in Chanthaburi Province. The research methodology for this study was an interdisciplinary mixing of the survey method with the qualitative method. The research results found that overall the knowledge and the wisdom about the local food was at the low level. It was found that 1 dish was at the high level; 10 dishes were at the moderate level; 11 dishes were at the bit low level; and 3 dishes were completely forgotten. As for the factors affecting the sustainable creation of the local food, it was found that there were 5 principle facts: the change of food consumption behavior, the change in the sources of the raw materials for producing the local dishes, passing of knowledge about local dishes to the younger generation, the images of the local dishes, and the availability of local food service success. Lastly, in this research it was found that the suggestions for the model for sustainably developing local food in Chanthaburi Province consisted of 5 measures to be able to impel the development process toward achievement: encouraging the intergenerational passing of the local food wisdom, changing the food consumption behavior, creating the images of the local dishes, providing the availability of local food service sources, and preserving the sources of the raw materials for producing the local dishes.
อาหารท้องถิ่น, พฤติกรรมการบริโภค, การพัฒนาความยั่งยืน
Local food, Consumption Behavior, Sustainable Development
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-01-05 18:45:24