ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองในช่วงการเมืองสองขั้วของประชาชนในเขตอําเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี
Factors affecting political information perception during bipolar politics to people in Makham District, Chanthaburi Province
ชิดชนก เชื้อแก้ว
สาขาการปกครองท้องถิ่น
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ภาคนิพนธ์
2558
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับและปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองในช่วงการเมืองสองขั้วของประชาชนในเขตอําเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี การศึกษาใช้กลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตอําเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี จํานวน 394 คน โดยการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method) คือการวิจัยเชิงสํารวจ และการสัมภาษณ์ในการวิจัยเชิงคุณภาพ รวมทั้งการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างรับรู้ข่าวสารทางการเมืองในช่วงการเมืองสองขั้วผ่านทางสื่อต่าง ๆ ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ซึ่งจาก 14 ช่องทางสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือกลุ่มที่รับรู้ข่าวสารน้อย โดยผ่านทางนักการเมือง ข้อความ SMS ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ตัวแทนกลุ่มพลังมวลชน ข้าราชการ พนักงานหน่วยงานของรัฐ หอกระจายข่าว รถประชาสัมพันธ์ เป็นต้น และ กลุ่มที่รับรู้ข่าวสารปานกลาง โดยผ่านทางสื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เพื่อนบ้าน และเพื่อนสนิท เป็นต้น ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองในช่วงการเมืองสองขั้ว ได้แก่ สังคมประกิตทางการเมืองและการบ่มเพาะทางการเมือง
The objectives of this research was to study the levels and the factors that affected the perception for the political information during the bipolar political conflict as perceived by people in Makham district, Chanthaburi. The study included a sample of 394 eligible voters in the area of Makham district, Chanthaburi. The research employed a mixed method research approach which included a survey-based research approach and an interview for the qualitative research approach as well as the participatory observation method. The study results indicated that the sample had a low level of political information perception via various types of media during the bipolar political conflict. From 14 different information channels which can be divided into two groups which were a group of those who had little of information perception and a group of those who had mid-level of information perception. The former group perceived information via politicians, SMS, representatives of the public power group, civil servants, government employees, news towers, public relations trucks and etc. The latter group obtained information from radio, printing media, neighbours, friends and etc. However, the factors that affected political information perception during bipolar political conflict were the political socialization and the political incubation.
การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง, การเมืองสองขั้ว
Political information perception, Bipolar political conflict
อินธิรา สังคีรี แก้ไขล่าสุด 2016-03-07 10:09:39