ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
School administrators skills affecting school administrations in the 21st Century under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office
มลฤดี สวนดี
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2565
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 จำนวน 285 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน โดยใช้อำเภอเป็นชั้นในการสุ่ม เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบวัดทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 29 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และตอนที่ 2 แบบวัดการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำนวน 27 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย
The objectives of this research were to: 1) study the skills of school administrators, 2) study school administrations in the 21st century, 3) study the relationship between the skills of school administrators and school administrations in the 21st century, and 4) create a predictive equation for how the skills of school administrators affect school administrations in the 21st century. The sample was a group of 285 teachers and school administrators in schools under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 1. The sample size was determined by using Krejcie and Morgans tables and proportional stratified randomized method, using districts as the class to randomize. The research tool was a 5-rating scale questionnaire that was divided into 2 parts. Part 1 had 29 items regarding the opinions about the skills of school administrators with a validity of 0.91. Part 2 of had 27 items regarding the opinions about school administrators in the 21st century with a validity of 0.95. The statistics used for data analysis were: percentage, mean, standard deviation, Pearsons product correlation coefficient and simple regression analysis.
ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา, การบริหารสถานศึกษา, ศตวรรษที่ 21
School administrators skills, School administrations, The 21stcentury
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2022-07-21 09:33:18