ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รูปแบบบูรณาการศาสตร์เพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในจังหวัดจันทบุรี
An integrated model for delaying kidney failure among Chronic Kidney Disease Patients in Chanthaburi Province
ธวัช วิเชียรประภา
สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ดุษฎีนิพนธ์
2567
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาโรคไตเรื้อรัง พัฒนารูปแบบบูรณาการศาสตร์ เพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยไตเรื้อรัง และเพื่อศึกษาผลของรูปแบบบูรณาการศาสตร์เพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยไตเรื้อรังจังหวัดจันทบุรี วิธีวิทยาการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแนวสหวิทยาการแบบข้ามพ้นสาขา ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เวชระเบียนผู้ป่วยไตเรื้อรัง เขตจังหวัดจันทบุรี จำนวน 6,664 ฉบับ ผู้เชี่ยวชาญการชะลอไตเสื่อมการแพทย์ทางเลือกจำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญการแพทย์แผนปัจจุบันจำนวน 3 คน และผู้เชี่ยวชาญ ด้านกระบวนการมีส่วนร่วมจำนวน 3 คน ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจังหวัดจันทบุรี 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียน แนวทางในการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบบันทึกข้อมูลภาวะสุขภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และแบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกฉบับย่อ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา และการทดสอบทีแบบไม่อิสระต่อกัน
The objectives of this research were to: 1) study the chronic kidney disease situation in Chanthaburi Province, 2) develop an integrated model for delaying kidney failure among these patients, and 3) evaluate the effectiveness of the model. This research was transdisciplinary and used the mixed-method design. The historical database of 6,664 medical records of chronic kidney disease patients in Chanthaburi Province was analyzed for this study, and the participants consisted of: 3 experts in the field of alternative medical treatment for delaying kidney failure, 3 experts in the field of nephrology, 3 experts in the field of the participatory process and 30 chronic kidney disease patients. The research instruments used in this study were: the medical records of the participants, a set of guidelines for the in-depth interviews, demographic questionnaires, a new medical records form specifically designed by the researcher for this study, and the World Health Organization Quality of Life (WHOQOL) assessment. The qualitative data were analyzed by content analysis, and the quantitative data were analyzed by descriptive statistics and paired t-test.
โรคไตวายเรื้อรัง, การชะลอไตเสื่อม, บูรณาการศาสตร์, แพทย์ทางเลือก
Chronic Kidney Disease, Delaying Kidney Failure, Integrated Model, Alternative Medicine
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-08-19 09:29:25