ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รูปแบบการพัฒนาความยั่งยืนในประเพณีงานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏจังหวัดจันทบุรี
A Model for Sustainable Development of the Annual Fair at Khao Kitchakut Sacred Buddha Footprint, Chanthaburi Province
พระมหาหงษ์สา (หงษ์สา ดิษชัง)
สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ดุษฎีนิพนธ์
2566
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรและปัจจัยด้านสถานการณ์ที่มีผลต่อการพัฒนาความยั่งยืนของงานประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี รวมถึงการนำเสนอรูปแบบขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนของงานประเพณีดังกล่าว วิธีการในการศึกษาจะใช้วิธีการวิจัยในเชิงคุณภาพบนฐานสหวิทยาการแนวข้ามพ้นสาขาโดยอาศัยเทคนิคในการวิจัยที่สำคัญ คือ การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า และการสัมภาษณ์เจาะลึก ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยด้านประชาชนที่มีผลต่อการพัฒนาความยั่งยืนของงานประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ จันทบุรี ได้แก่ ปัจจัยเป้าหมายการมาร่วมงานที่ให้ความสำคัญต่อเรื่องความศรัทธา ปัจจัยด้านทัศนคติที่ประชาชนค่อนข้างเห็นด้วยกับกิจกรรมของงานที่จัดขึ้นและปัจจัยด้านความพึงพอใจในบริการของงานฯ ที่อยู่ในระดับค่อนข้างมาก ส่วนปัจจัยด้านพฤติกรรมของประชาชนที่มาร่วมงานฯ ที่มีผล ได้แก่ ปัจจัยด้านภูมิลำเนาที่ประชาชนเดินทางมาจากทุกภาคของประเทศไทย จนถึงประเทศเพื่อนบ้านด้วย ส่วนปัจจัยด้านความถี่ของการร่วมงานของประชาชน พบว่ามีแบบแผนการมาร่วมงานซ้ำกันหลายครั้ง และเมื่อพิจารณาถึงปัจจัยของรูปแบบการเดินทางชี้ให้เห็นว่าประชาชนมีความผูกพันกับงานโดยการเดินทางมาเป็นครอบครัวและหมู่คณะ ส่วนปัจจัยด้านสถานการณ์ที่มีผลต่อการพัฒนาความยั่งยืนของงานประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ได้แก่ ปัจจัยภายนอกทางด้านสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และแนวโน้มการแข่งขันของคู่แข่งรายใหม่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงศาสนา นอกจากนั้นยังมีปัจจัยการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่คาดไม่ถึงทำให้งานที่นมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เกิดการถดถอยจนต้องยุติการจัดงาน ผลการศึกษาในการนำเสนอรูปแบบการขับเคลื่อน พบว่ารูปแบบการจัดการภาคีสาธารณะแนวใหม่ รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และรูปแบบการท่องเที่ยวที่ต่อเนื่องจากงานในเขตจังหวัดจันทบุรีจะมีผลต่อความยั่งยืนของงานประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี
The purposes of this research were to: 1) study the people and opinions of the attendees of the annual fair at the sacred Buddha’s footprint in Khao Kitchakut District, Chanthaburi Province, 2) study the situational factors affecting the stakeholders at the religious tourism site, and 3) present a model for sustainable development of the traditional annual fair. The research methodology used was transdisciplinary qualitative research based on: documentary research, oral history interviews and in-depth interviews with stakeholders. The results showed that: 1) the people and opinions of the attendees showed that they had faith-based reasons for attending, overall agreement that the annual fair should continue and overall satisfaction with the services provided at the site. Attendees came from provinces throughout Thailand, as well as neighboring countries. As for frequency, those who attended stated that they have attended the fair many times before. Furthermore, most attendees traveled together in family groups; 2) the situational factors affecting the stakeholders at the religious tourism site included: external economic factors, new competing interests in religious tourism, and the Covid-19 pandemic which caused the stakeholders to suffer economically while the annual fair was cancelled; and 3) the model-driven sustainable development plan included: new public governance, established methods for problem solving, and coordination with other tourist sites and events in Chanthaburi Province.
รูปแบบขับเคลื่อนการพัฒนา, ความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงศาสนา, การจัดการภาคีสาธารณะแนวใหม่
Model-driven Development, Sustainability in Religious Tourism, New Public Governance
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-01-16 08:45:55