ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชนตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง : ศึกษาชุมชนในจังหวัดตราด
Community Management of Common-pool Resources According to the Philosophy of Sufficiency Economy: A Case Study of Communities in Trat Province
ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์
สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ดุษฎีนิพนธ์
2566
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนในจังหวัดตราด 2) ศึกษาเงื่อนไขสำคัญในการจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนในจังหวัดตราดและ 3) นำเสนอรูปแบบในการจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในจังหวัดตราด วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้ในการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวสหวิทยาการแบบสหสาขาวิชา ซึ่งประกอบด้วยเทคนิควิจัย ได้แก่ การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า การสัมภาษณ์เจาะลึกและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ข้อค้นพบจากการวิจัยพบว่า การจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชนตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงมี 3 ลักษณะ คือ 1) การจัดการทรัพยากรร่วมในเชิงสถาบัน 2) การจัดการทรัพยากรร่วมในเชิงอรรถประโยชน์ 3) การจัดการทรัพยากรร่วมในเชิงนิเวศวัฒนธรรม ทั้ง 3 ชุมชน ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างเป็นรูปธรรมทั้ง 5 ด้าน ตามคุณลักษณะของสามห่วง สองเงื่อนไขและมีความสอดคล้องกับแนวคิดการจัดการทรัพยากรร่วมของเอลินอร์ ออสตรอม 8 มิติ โดยมีเงื่อนไขสำคัญในการจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชน 10 ด้าน คือ 1) การมีจิตสำนึกที่ดีต่อทรัพยากรร่วมของชุมชน 2) ทุนชุมชน 3) กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพ 4) การมีข้อกำหนด กฎ กติกาและข้อตกลงร่วมในการจัดการ 5) กลุ่ม องค์กรและเครือข่าย 6) การจัดทำแผนโครงการและกิจกรรม 7) ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ 8) การยึดหลักธรรมาภิบาลและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 9) ผู้นำที่มีความรับผิดชอบ 10) การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานและองค์กรภายนอ
This research aimed to: 1) study the characteristics of the community common-pool resources management of the mangrove forest among 3 communities in Muang and Laem Ngob Districts, Trat Province according to the philosophy of sufficiency economy, 2) study the significant conditions facing these communities, and 3) propose a new model for community common-pool resources management following the philosophy of sufficiency economy. The research was conducted on the basis of multidisciplinary and interdisciplinary qualitative research design, consisting of research techniques including: documentary research, interviews, oral history, in-depth interviews as well as participatory and non-participatory observation. The findings from the study revealed that there were 3 characteristics of community common-pool resources management of the mangrove forest which were: 1) institutional common-pool resources management, 2) utilitarian common-pool resources management, and 3) ecocultural common-pool resources management. All three communities employed the philosophy of sufficiency economy in a tangible manner in 5 aspects according to the characteristics of 3 loops and 2 conditions, consistent with all 8 dimensions of the common-pool resources theory of Elinor Ostrom. There were 10 aspects of important conditions for community common-pool resources management: 1) good conscience towards community common-pool resources, 2) community capital, 3) good quality participatory process, 4) mutual rules, regulations, and agreements, 5) groups, organizations, and networks, 6) preparation of project plans and activities, 7) local wisdom and learning process enhancement, 8) adherence to good governance and living together in peace, 9) responsible leaders, and 10) support from external agencies and organizations.
รูปแบบการจัดการทรัพยากรร่วม, เงื่อนไขการจัดการทรัพยากร, การจัดการป่าไม้ชายเลน
Common-pool Resources Management Model, Resources Management Condition, Mangrove Forest Management
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-01-05 17:09:46