ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า ในเขตตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
A study of conflict management between wild elephants and residents of Pha Wa Subdistrict, Kaeng Hang Maew District, Chanthaburi Province
งามอาภา วัฒนอังกูร
สาขาการปกครองท้องถิ่น
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ภาคนิพนธ์
2560
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาระหว่างคนกับช้างป่า และแนวทางในการจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า ในเขตตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีเชิงคุณภาพแนวนิเวศวิทยาการเมืองและการวิจัยเชิงบุกเบิกคือการรวบรวมข้อมูลจากการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ประวัติศาสตร์ จากคำบอกเล่า การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสัมภาษณ์กลุ่มและการสังเกตการณ์ โดยผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาช้างป่า ผู้อาวุโสชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเกิดปัญหาระหว่างคน กับช้างป่า ในเขตตำบลพวาได้แก่ ปัจจัยด้านการบุกรุกทำลายป่า ปัจจัยด้านการขยายตัวของถนน ปัจจัยด้านการเพิ่มจำนวนของช้างป่าและปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ส่วนแนวทางในการจัดการปัญหาระหว่างคนกับช้างป่า ในเขตตำบลพวา สามารถแบ่งได้เป็น 2 แนวทางหลักคือ แนวทางการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ การสร้างแนวรั้วรังผึ้ง การสร้าง แนวรั้วสลิงกั้นช้าง การขุดคูกั้นช้าง และการสร้างกฎระเบียบเพื่อพิจารณาการจ่ายค่าชดเชยแก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาช้างป่า ส่วนข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาระยะยาว ประกอบด้วย 7 แนวทาง ได้แก่ การศึกษาความสามารถในการรองรับจำนวนช้างที่เหมาะสม การวางแผน ในการใช้ประโยชน์ที่ดิน การถ่ายเทช้างระหว่างป่าพื้นที่ที่อยู่ใกล้เคียงกัน การเคลื่อนย้ายช้างออกจากพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น การเคลื่อนย้ายข้ามระหว่างกลุ่มป่า การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลอย่างทันต่อเหตุการณ์ และการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาช้างโดยตรง
The purpose of this research was to study factors and guidelines for conflict management between wild elephants and residents of Pha Wa subdistrict, Kaeng Hang Maew district, Chanthaburi province. The political, ecological and exploratory research approaches were used in this study. The data were collected from documents, interviews about oral history, in-depth interviews, focus group interviews and observation. The key informants consisted people who suffered from wild elephant problems, elders in the community, as well as stakeholders from government, private and public sectors. The findings showed the main factors causing the conflicts between wild elephants and residents in Pha Wa subdistrict were: deforestation, road enlargement, wild elephant population growth and climate change. There were 2 guidelines for conflict management between wild elephants and residents in Pha Wa subdistrict. The 4 main immediate recommendations for solutions were: construction of bee hive fences, construction of sling fences to block the wild elephants, ditch digging to stop the wild elephants and consideration of compensation for residents who have been affected by the wild elephants. The 7 long-term guidelines for solutions were: studying the appropriate population size of wild elephants, updating the land use plan, relocating the wild elephants to nearby forests, removing the wild elephants from populated areas, moving the wild elephants across forest complexes, publicizing updated information to residents and organizing working groups to directly solve the problems.
ความขัดแย้ง, การจัดการความขัดแย้ง, ช้างป่า
Conflict, Conflict management, Elephants
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2018-02-07 14:51:49