ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี
21st Century School Administrators’ Skills Affecting the Professional Learning Community in Schools under the Office of Chanthaburi Primary Educational Service Area
สุณิสา แพทย์พิพัฒน์.
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2564
ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นความสามารถในการบริหารงาน ตามภารกิจที่อาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างครูและผู้บริหาร มีความสำคัญต่อชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพในสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะของผู้บริหาร สถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาระดับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี ปีการศึกษา 2560 จำนวน 373 ตัวอย่าง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มเป็นแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 และชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย
The 21st century school administrators’ skills are management abilities in accordance with the mission that requires cooperation between the teachers and the administrators, which is important to the professional learning community in the schools. Therefore, the purposes of this research were to: 1) study the 21st century school administrators’ skill level, 2) study the level of the professional learning community in the schools, 3) study the relationship between the 21st century school administrators’ skills and the professional learning community in the schools, and 4) create a predicative equation of the 21st century school administrators’ skills affecting the professional learning community in the schools under the Office of Chanthaburi Primary Educational Service Area. The sample was a group of 373 teachers and educational personnel in the schools under the Office of Chanthaburi Primary Educational Service Area in the academic year 2017. The sample size was calculated using Krejcie and Morgan’s comparison table and proportionate stratified random sampling method. The research instrument was a five-level rating scale questionnaire focusing on the 21st century school administrators’ skills and the professional learning community in the schools under the Office of Chanthaburi Primary Educational Service Area with the reliability of the whole questionnaire of 0.98. The statistics used for data analysis were: mean, standard deviation, Pearson product-moment correlation coefficient and simple regression analysis.
ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา
School Administrators’ Skills
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2021-09-27 13:48:21