ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี
School administration affecting the effectiveness of schools under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office
ขวัญพิชชา มีแก้ว
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2562
การบริหารสถานศึกษาเป็นกระบวนการในการทำงานโดยมีผู้บริหารสถานศึกษาปฏิบัติภารกิจอย่างเป็นระบบในสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษามีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบในการตัดสินใจที่มีผลของสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา และ 4) สร้างสมการพยากรณ์การบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 และ เขต 2 จำนวน 373 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกนใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยใช้เขตพื้นที่การศึกษาเป็นชั้นในการสุ่ม เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย
Schools administration is a working process that has the school administrators systematically perform the tasks in the schools. The school administrators have authority and responsibility to make a decision that affects the school effectiveness. The objectives of this research were to : 1) study level of school administration, 2) study the effectiveness level of the schools, 3) study the relationship between school administration and school effectiveness and 4”) create a prediction equation of school administration that affected the school effectiveness. The sample was a group of 373 teachers in the schools under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 1 and 2. The sample size was calculated using Krejcie and Morgan’s table and stratified random sampling method by using Education Service Area as a random class. The research instrument was a five-level rating scale questionnaire with a reliability of 0.97. The statistics used for data analysis were: percentage, mean, standard deviation, Pearson product-moment correlation coefficient and sample regression analysis.
การบริหารการศึกษา
School administration
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-04-13 13:31:21