ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี
School administrator’s academic leadership affecting teachers’ teamwork in schools under Chanthaburi Primary Education Service Area Office
กาญจนา สุระคำ
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2562
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นพฤติกรรมในการนำความรู้ ทักษะตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถใช้กลยุทธ์ทั้งการเป็นผู้นำ การบริหารและการนำกลุ่มให้กระทำกิจกรรมทางด้านวิชาการให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับการทำงานเป็นทีมของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครู และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 และเขต 2 จำนวน 373 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน โดยใช้เขตพื้นที่ศึกษาเป็นชั้นในการสุ่ม เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย
The school administrators’ academic leadership is behavior in applying knowledge, skills and techniques to be beneficial for academic operations. The school administrators can use strategies of leadership, management and group guiding to conduct academic activities and to achieve the set goals. The objectives of this research were: to 1) study the level of the school administrators’ academic leadership, 2) study the level of the teachers’ teamwork, 3) study the relationship between the school administrators’ academic leadership and the teachers’ teamwork, and 4) create prediction equation for the school administrators’ academic leadership affecting the teachers’ teamwork. The sample was a group of 373 teacher in the school under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 1 and 2. The sample size was calculated using Krejcie and Morgan’s table and proportionate stratified random sampling method by using educational service area as a random class. The research instrument was a five-level rating scale questionnaire with a reliability of 0.94. The statistics used for data analysis were: mean, standard deviation, Pearson product-moment correlation coefficient and simple regression analysis.
ภาวะผู้นำ, ผู้บริหารสถานศึกษา, การทำงานเป็นทีม
Leadership, Teamwork, School administrator
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-02-14 09:32:59