ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2
Application of the Buddhist principle of Sangahavatthu Affecting School administrators’ personnel management under Chanthaburi Primary Education Service Area Office 2
ลิษา สมัครพันธ์
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2562
หลักสังคหวัตถุเป็นหลักในการครองใจคน ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำหลักธรรมนี้มาประยุกต์ใช้เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการประยุกต์ใช้หลักหลักสังคหวัตถุของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา และ 4) สร้างสมการพยากรณ์การประยุกต์ใช้หลักหลักสังคหวัตถุในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ้มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 จำนวน 332 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน โดยใช้ขนาดของสถานศึกษาเป็นชั้นในการสุ่ม เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย
The Buddhist principle of Sangahavatthu is a principle that links people’s hearts together. The school administrators can apply this dharmic principle for their effective management. The purposes of this research were to: 1) study the school administrators’ application level of the Buddhist Principle of Sangahavatthu, 2) study the school administrators’ personnel management level, 3) study the relationship of the school administrators’ application of the Buddhist Principle of Sangahavatthu for personnel management, and 4) create a predictive equation for the school administrators’ application of the Buddhist Principle of Sangahavatthu for personnel management. The sample was a group of 332 teachers and educational personnel under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 2. The sample size was calculated using Krejcie and Morgan’s table and stratified random sampling by using the school size as a random class. The research instrument was a five-level rating scale questionnaire with a reliability of the whole questionnaire at 0.95. The statistics used for data analysis were: mean, standard deviation, Pearson product-moment correlation coefficient and simple regression analysis.
หลักสังคหวัตถุ, การบริหารงานบุคคล, ผู้บริหารสถานศึกษา
Sangahavatthu, Personnel management, School administrator
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-02-12 09:43:07