ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17
A study on school administrators’ administration skills under the Secondary Education Service Area Office 17
วัลลิภา พูลศิริ
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2562
การปฏิรูปการศึกษาไทยภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงแบบพลวัตมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตลอดชีวิต โดยผ่านกระบวนการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม การยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้สูงขึ้นนั้นจำเป็นต้องอาศัยทักษะต่าง ๆ ของผู้บริหารสถานศึกษาในการนำพาสถานศึกษาไปสู่ความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขนพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จำนวน 320 คน โดยใช้ตารางเทียบหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน และการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่
Thai educational reform under the situation of dynamic change focuses on life long education of the learners through effective education management process together with appropriate technology usage. Improvement of educational standard requires the school administrators’ skills in leading the schools towards sustainable prosperity. The purposes of this research were to study and compare the school administrators’ administration skill under the Secondary Education Service Area Office 17 classified by working experience and size of the schools. The sample used in this research was a group of 320 teachers under the Secondary Education Service Area Office 17. The sample size was calculated using Krejcie and Morgan’s comparison table and proportionate stratified random sampling method. The research instrument was a five-level rating scale questionnaire with a reliability of 0.95. The statistics used for data analysis were: percentage, mean, standard deviation, T-test, One-way ANOVA and Scheffe’s paired difference test
ทักษะการบริหาร, ผู้บริหารสถานศึกษา
Administration skills, School administrator
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-01-27 15:11:32