ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการเลี้ยงกุ้งขาว ภายใต้มาตรฐานปฏิบัติ ทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) ของเกษตรกรในอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
Factors Relating to the Success in White Shrimp Farming under the Standard of Good Aquaculture Practice (GAP) in Laemsing District, Chanthaburi Province
รุจิรดา สำเร็จ
สาขาเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
วิทยานิพนธ์
2564
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กบความสำเร็จในการเลี้ยงกุ้งขาว ภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) ของเกษตรกร ในอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาว ในอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 149 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และวิเคราะห์ ารถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการเลี้ยงกุ้งขาว ภายใต้มาตรฐาน GAP ของเกษตรกรในอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี มี 6 ปัจจัย ได้แก่ 1) ขนาดพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้งขาว (X = 2.46, S.D = 1.03) 2) การติดต่อสื่อสารระหว่างเกษตรกร (X = 19.71, S.D = 28.02) 3) จำนวนแรงงานในครัวเรือน ( X = 1.45, S.D = 0.61) 4) เป็นสมาชิกกลุ่มหรือสถาบันการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 79.90 5) การศึกษาดูงานการเลี้ยงกุ้งขาว ภายใต้มาตรฐาน GAP (X = 1.96, S.D = 0.53) และ 6) การติดต่อกบเจ้าหน้าที่ประมง ( X = 2.91, S.D = 1.43) ซึ่งมีความสัมพันธ์อยางมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ และสามารถร่วมกันพยากรณ์ความสำเร็จได้ร้อยละ 63.50 (R2 =0.635) โดยตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับตัวแปรตาม คือ ขนาดพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้งขาว การเป็นสมาชิกกลุ่มหรือสถาบันการเกษตร การติดต่อสื่อสารระหว่างเกษตรกร การศึกษาดูงานเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งขาว ภายใต้มาตรฐาน GAP จำนวนแรงงานในครัวเรือน ในขณะที่ตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับตัวแปรตาม คือ การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ประมง ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าวสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางแผน และพัฒนาการเลี้ยงกุ้งขาวสำหรับเกษตรกรและหน่วยงานต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพต่อไป
The purpose of this research was to study the factors relating to the success in white shrimp farming under the standard of Good Aquaculture Practice (GAP) in Laemsing District, Chanthaburi Province. The sample were 149 households located in Laemsing District, Chanthaburi Province. The data collection instrument was a questionnaire. The statistics used in analyzing data were: frequency, percentage, mean, standard deviation, minimum value, maximum value and multiple regression analysis. The results showed that there were 6 factors relating to the success in white shrimp farming under the standard of Good Aquaculture Practice (GAP) in Laemsing District, Chanthaburi Province, including: 1) white shrimp pond size ( X = 2.46, S.D = 1.03), 2) communication between farmers (X = 19.71, S.D = 28.02), 3) number of family labor (X = 1.45, S.D = 0.61), 4) membership in agricultural institutions at 79.90%, 5) white shrimp raising farm trip under GAP standard (X = 1.96, S.D = 0.53), and 6) communication with fishery department officers (X = 2.91, S.D = 1.43) which had a relationship with great statistical significance and could join and help predict the success at 63.50% (R2=0.635). The independent variables that had a positive relationship were: white shrimp pond size, membership in agricultural institutions, communication between farmers, white shrimp raising farm trip under GAP standard and number of family labor. While the independent variables that had a negative relationship was the communication with fishery department officers. The results of this research could be used as database for efficiently planning and developing white shrimp farming for farmers and other relevant agencies.
กุ้งขาว, การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP), ปัจจัยที่สัมพันธ์, ความสำเร็จ
White Shrimp, Good Aquaculture Practice (GAP), Factors Relating, Success
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2021-11-26 11:12:54