ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ผลของพาโคลบิวทราโซล เมพิควอทคลอไรด์ และไทโอยูเรียร่วมกับโพแทสเซียมคลอเรต ต่อการออกดอกและติดผลของลำไยพันธุ์อีดอในฤดูฝน
Effects of Paclobutrazol, Mepiquat Chloride and Thiourea Combined with Potassium Chlorate on Flowering and Fruiting of Longan cv. E – Daw in Rainy Season
พัชร สมบูรณ์ชัย
สาขาเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
วิทยานิพนธ์
2563
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของพาโคลบิวทราโซล เมพิควอทคลอไรด์ และไทโอยูเรีย ร่วมกับโพแทสเซียมคลอเรต ต่อการออกดอกและติดผลของลำไยพันธุ์อีดอในฤดูฝนดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม 2560 ณ แปลงเกษตรกร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) จำนวน 4 กรรมวิธี มี 4 ซ้ำ ดังนี้ 1) กรรมวิธีควบคุม (ราดโพแทสเซียมคลอเรตทางดินอัตรา 20 กรัมต่อตารางเมตร) 2) กรรมวิธีราดโพแทสเซียมคลอเรตทางดินอัตรา 20 กรัมต่อตารางเมตรร่วมกับพ่นทางใบด้วยพาโคลบิวทราโซล ความเข้มข้น 2,000 มิลลิกรัมต่อลิตร 3) กรรมวิธีราดโพแทสเซียมคลอเรตทางดินอัตรา 20 กรัมต่อตารางเมตรร่วมกับพ่นทางใบด้วยเมพิควอทคลอไรด์ ความเข้มข้น 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 4) กรรมวิธีราดโพแทสเซียมคลอเรตทางดินอัตรา 20 กรัมต่อตารางเมตร ร่วมกับพ่นทางใบด้วยไทโอยูเรีย ความเข้มข้น 5,000 มิลลิกรัมต่อลิตร พบวา กรรมวิธีที่ 4 ส่งผลให้ต้นลำไยมีเปอร์เซ็นต์การออกดอกมากที่สุด (95.83 %) และมีเปอร์เซ็นต์การแตกใบอ่อนน้อยที่สุดความหนาเนื้อผล ความแน่นเนื้อของผลลำไยปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของเปลือกผล เนื้อผล และเมล็ดของทุกกรรมวิธีไม่แตกต่างกนทางสถิติ
This experiment aimed to study the effect of paclobutrazol, mepiquat chloride and thiourea combined with potassium chlorate on flowering and fruiting of longan cv. E - Daw in rainy season. The experiment was carried out during July to October 2017 at Pong Nam Ron District, Chanthaburi Province. The experiment was designed based on completely randomized design (CRD) with 4 treatments and 4 replications as follows: 1) control (soil drenched with potassium chlorate at 20 g/m2 of canopy diameter); 2) soil drenched with potassium chlorate at 20 g/m2 combined with foliar spray with paclobutrazol 2,000 mg/L; 3) soil drenched with potassium chlorate at 20 g/m2 combined with foliar spray with mepiquat chloride 3,000 mg/L; and 4) soil drenched with potassium chlorate at 20 g/m2combined with foliar spray with thiourea 5,000 mg/L. The results revealed that the treatment of soil drenched with potassium chlorate at 20 g/m2 combined with foliar spray with thiourea 5,000 mg/L showed the highest percentage of flowering shoots (95.83 %) and lowest percentage of young leaves shoots (4.17 %) as compared to treatments 1 and 2. The flower panicle percentage of longan plants treated with treatments 3 and 4 was higher than that of treatments 1 and 2. The width and length of longan panicle tended to be reduced by treatment 2. In terms of nutrient content, the results revealed that treatments 3 and 4 showed the highest phosphorus content in the longan shoots compared to other experiments. The leafy panicle percentage, number of flowers per panicle, flower type percentage, chlorophyll content, nitrogen, potassium, calcium and magnesium content in the longan shoots, fruit number per panicle, fruit diameter, fruit circumference, peel thickness, plup thickness, total soluble solid, fresh weight and dry weight of peel, plup and seeds of longan did not significantly differ among treatments.
ลำไย, โพแทสเซียมคลอเรต, พาโคลบิวทราโซล, เมพิควอทคลอไรด์, ไทโอยูเรีย
Longan, Potassium Chlorate, Paclobutrazol, Mepiquat Chloride, Thiourea
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2021-03-09 08:58:13