ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ผลของน้ำทิ้งจากกระบวนการหมักก๊าซชีวภาพด้วยเปลือกและเมล็ดทุเรียนร่วมกับมูลไก่ต่อคุณสมบัติทางเคมีของดิน การเจริญเติบโต และปริมาณธาตุอาหารของดาวเรือง (Tagetes erecta)
Effect of Biogas Effluent from Durian Shell and Seed Combined with Chicken Manure on Soil Chemical Property, Growth and Nutrient Concentrations of Marigolds (Tagetes erecta)
กฤตติกา ขนิษฐ์ทอง
สาขาเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
วิทยานิพนธ์
2562
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของน้ำทิ้งจากกระบวนการหมักก๊าซชีวภาพด้วยเปลือกและเมล็ดทุเรียนร่วมกับมูลไก่ต่อคุณสมบัติทางเคมีของดิน การเจริญเติบโต และปริมาณธาตุอาหารของดาวเรืองดำเนินการทดลอง ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 6 สิ่งทดลอง จำนวน 4 ซ้ำ คือ น้ำเปล่า (T1), น้ำทิ้งจากกระบวนการหมักก๊าซชีวภาพต่อน้ำ อัตราส่วน 1:9 (T2), น้ำทิ้งจากกระบวนการหมักก๊าซชีวภาพต่อน้ำอัตราส่วน 1:7 (T3), น้ำทิ้งจากกระบวนการหมักก๊าซชีวภาพต่อน้ำ อัตราส่วน 1:5 (T4), น้ำทิ้งจากกระบวนการหมักก๊าซชีวภาพต่อน้ำอัตราส่วน 1:3 (T5) และปุ๋ยเคมีตามอัตราที่แนะนำ (T6) บันทึกข้อมูลความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นความกว้างทรงพุ่ม และค่า SPAD ทุกสัปดาห์ บันทึกจำนวนดอก เส้นผ่านศูนย์กลางดอก น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของดอกดาวเรืองขณะดอกบานร้อยเปอร์เซ็นต์ บันทึกข้อมูลค่า pH และค่าการนำไฟฟ้า (EC) วัดความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์ ของใบ น้ำหนักสด น้ำหนักแห้งของราก ลำตัน ใบและวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารของดาวเรือง เมื่อสิ้นสุดการทดลอง
The objective of this research was to study the effects of biogas effluent from durian shell and seed combined with chicken manure on soil chemical property, growth and nutrient concentration of marigolds. The experimental design was a Completely Randomized Design with six treatments and 4 replications consisted of water (T1), biogas effluent: water ratio of 1:9 (T2), biogas effluent: water ratio of 1:7 (T3), biogas effluent: water ratio of 1:5 (T4), biogas effluent: water ratio of 1:3 (T5) and the recommended chemical fertilizer rate (T6). The experiment was conducted at the Faculty of Agricultural Technology in Rambhai Barni Rajabhat University. The data on plant height, stem diameter, bush diameter and SPAD were collected every week. The number, diameter, fresh and dry weights of marigold flowers at the time of blooming were monitored daily. The pH and electrical conductivity (EC) of soil, chlorophyll concentration of leaves, fresh and dry weights of roots, branches and leaves and nutrients concentrations of plant were measured at the end of the experiment.
ก๊าซชีวภาพ, ดาวเรือง
Marigolds, Biogas
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-02-06 09:03:57