ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

กระบวนการเรียนรู้กับการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนวนเกษตร ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
Learning Processes and Sustainable Development According to the Philosophy of Sufficiency Economy: A Case Study of the Pawa Village Agroforestry Community, Kaeng Hang Maeo District, Chanthaburi Province
ยุวดี ธัญทนะ
สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ดุษฎีนิพนธ์
2566
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้กับการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนวนเกษตร ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี และเพื่อนำเสนอตัวแบบที่เหมาะสมในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน วิธีวิทยาการวิจัยจะใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแนวกรณีศึกษาและถอดบทเรียน เทคนิคที่ใช้ ได้แก่ การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า การสัมภาษณ์เจาะลึก และการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการเรียนรู้มีผลนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนวนเกษตรพวา โดยการจัดกิจกรรมประเพณีบุญปลงคืนถิ่น กิจกรรมสวนป่าอรัญปิยวงศ์ กิจกรรมวิถีเกษตรแบบวนเกษตร กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ และสหกรณ์ร้านค้าชุมชน กิจกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน และกิจกรรมการแลกเปลี่ยนชุมชน เนื่องจากได้เรียนรู้ถึงคุณค่าที่ได้มา คือ ความสามัคคีในชุมชน การเพิ่มรายได้ การลดรายจ่าย และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่วนตัวแบบที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มชุมชนวนเกษตรพวา ควรมีการปรับเปลี่ยนจากตัวแบบเดิมที่เน้นเรื่องความรู้ของชุมชน ทรัพยากรท้องถิ่น และการบริหารจัดการชุมชน มาสู่การใช้กลไกและกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน และการขยายเครือข่ายเพิ่มเติมทางสังคม อันเป็นผลมาจากการที่กลุ่มชุมชนวนเกษตรพวาประสบกับปัญหาการขยายตัวของระบบทุนนิยมและการขยายตัวของกระแสโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน
This research aimed to study the learning processes and sustainable development according to the Sufficiency Economy Philosophy in the agroforestry community located in Pawa Sub- district, Kaeng Hang Maeo District, Chanthaburi Province and to propose and apply a proper model according to the Sufficiency Economy Philosophy for sustainable development. The research approaches used in this study included the qualitative research methodology which was based on the case study and lessons- learned method. The data collection techniques consisted of documentary research, oral history, in-depth interviews, and small group interviews. The research findings revealed that the learning processes resulted in the sustainable development of the Pawa Agroforestry Community by organizing the Boon Plong Khuen Thin Festival, the Aran Piyawong Forest Park, the Agroforestry Way, the Satja Saving Group, the Local Cooperative Store, local product manufacturing, and community engagement exchange. The values learned from the projects and activities included: harmony in the community, income increase and cost reduction, as well as environmental conservation. The appropriate driven model used to strengthen the Sufficiency Economy Philosophy in the Pawa Agroforestry Community should be changed from the former model which focused on community knowledge, local resources, and community management to the local participatory mechanism and process as well as more social networking due to the problems of capitalism and globalization facing the Pawa Agroforestry Community nowadays.
กระบวนการเรียนรู้, การพัฒนาที่ยั่งยืน, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, ชุมชนวนเกษตรพวา
Learning Processes, Sustainable Development, Sufficiency Economy Philosophy, Pawa Agro-Forestry Community
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-01-05 19:33:24