ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การสร้างความยั่งยืนของเขตเศรษฐกิจลำไยในพื้นที่ใหม่ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ : กรณีศึกษา จังหวัดจันทบุรี
Building a Sustainable Economy Model for Longan Production in New Areas in an Era of Globalization : A Case Study of Chanthaburi Province
สุทธิ กาบพิลา
สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ดุษฎีนิพนธ์
2566
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาความไม่ยั่งยืนของเศรษฐกิจลำไยในพื้นที่ ใหม่ของจังหวัดจันทบุรีท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาความไม่ยั่งยืนของเศรษฐกิจลำไยในพื้นที่ใหม่ของจังหวัดจันทบุรีท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ และ 3) เสนอตัวแบบของการพัฒนาที่ยั่งยืนของเศรษฐกิจลำไยในพื้นที่ใหม่ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ของจังหวัดจันทบุรี วิธีวิทยาการวิจัยใช้การศึกษาแนวสหวิทยาการแบบข้ามพ้นสาขา ซึ่งตั้งอยู่บนฐานคิดแบบองค์รวม วิธีการวิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพเชิงพื้นที่ (Area-Based Study) ด้วยวิธีการศึกษาเอกสารทั้งเอกสารชั้นต้นและชั้นรอง รวมถึงการสัมภาษณ์ทั้งการสัมภาษณ์ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า และการสัมภาษณ์เจาะลึก ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาความไม่ยั่งยืนของเศรษฐกิจลำไยในจังหวัดจันทบุรี สะท้อนได้จากปัญหาราคาลำไยที่มีแนวโน้มลดลง เช่น กรณีลำไยเบอร์ 1 ราคาลดลงตั้งแต่ห้าสิบ กว่าบาทลงมาถึงสิบกว่าบาท ในขณะที่ต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มสูงขึ้นตามลำดับไม่ว่าจะเป็นต้นทุน ด้านแรงงาน ต้นทุนด้านเคมีภัณฑ์ ต้นทุนด้านภัยแล้งเกิดขึ้น 2) เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาความไม่ยั่งยืนของเศรษฐกิจลำไยดังกล่าว ก็จะพบว่าปัญหาความไม่ยั่งยืนมาจากปัจจัยหลายประการ แต่ปัจจัยสำคัญที่เป็นปัจจัยเชิงโครงสร้างที่อยู่เบื้องหลังก็คือ ปัจจัยเกี่ยวกับการผูกขาดของระบบล้งลำไย 3) ส่วนตัวแบบของการพัฒนาที่ยั่งยืนของเศรษฐกิจลำไยดังกล่าวท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ ผู้วิจัยจะนำเสนอตัวแบบในเชิงบูรณาการโดยพิจารณาบูรณาการกลไกขับเคลื่อนในการสร้างความยั่งยืนทั้ง 3 กลไกหลัก ประกอบด้วย กลไกของชุมชนชาวของสวนลำไยโดยมีมาตรการที่สำคัญคือ (1) การสร้างความยั่งยืนของเศรษฐกิจลำไยของชาวสวนบนฐานการเป็นเกษตรกรรายย่อย (2) การสร้างเครือข่ายตามแนวคิดสหกรณ์ของกลุ่มเกษตรกร กลไกของรัฐโดยมีมาตรการที่สำคัญคือ (1) การแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการทำสัญญาซื้อขายลำไยระหว่างชาวสวนลำไยและล้งให้มีความเป็นธรรม (2) ดำเนินการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลผลิตลำไยของจังหวัดจันทบุรีในประเทศจีนให้กว้างขวางมากกว่าที่เป็นอยู่ (3) การแทรกแซงกลไกตลาดของลำไยให้มีการแข่งขันอย่างเสรีอย่างแท้จริง และกลไกตลาดของภาคเอกชนโดยมีมาตรการสำคัญคือ (1) การขยายตลาดภายในเป็นการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคลำไยภายในประเทศมากขึ้น (2) การควบคุมผลผลิตลำไยให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ และ (3) การสร้างเงื่อนไขการแข่งขันที่เป็นธรรม
This dissertation aimed to: 1) study the problems of the unsustainability of the longan economy in Chanthaburi Province, 2) study the factors affecting the unsustainability of the longan economy in new areas, and 3) propose a model for sustainable development of the longan economy in new areas among globalization in Chanthaburi Province. The research methodology was an interdisciplinary study that crossed fields and was based on holistic thinking. The research methodology used an area-based analysis by studying primary and secondary documents, including historical interviews from hearsay and in-depth interviews. The findings were as follows: 1) the main problem of the unsustainability of the longan economy in Chanthaburi Province was reflected in the problem of longan prices that tended to decrease. For example, in the case of longan size no. 1, the price dropped from around fifty baht down to ten baht per kilo. Meanwhile, the production costs tended to increase accordingly, including labor costs, chemical costs, or drought costs; 2) for the factors affecting the unsustainability of the logan economy, it was found that the problem came from many factors. However, the important factor which was a structural factor behind this was the factors related to the monopolies of intermediaries’ systems in the logan markets; and 3) regarding the model for sustainable development of the longan economy in new areas amid globalization, the researcher proposed a comprehensive model by the integration of the three driving mechanisms for sustainable development. The first one was the mechanisms of longan orchard owner communities which consisted of: (1) creating sustainability for independent longan farmers who do not participate in international exports, and (2) building networks based on the concept of farmer cooperatives. The second one was the mechanisms of government which consisted of: (1) amending the laws regarding longan trading contracts between longan orchard owners and intermediaries to be fair, (2) promoting about longan products from Chanthaburi Province in China to be more comprehensive than now, and (3) manipulating longan market mechanisms to provide truly free competition. And the third one was the mechanisms of private-sector markets which consisted of: (1) expanding the internal markets to help stimulating more longan consumption within the country, (2) controlling longan production to be consistent with the needs of both domestic and international markets, and (3) creating fair competitive conditions.
การสร้างความยั่งยืน, เศรษฐกิจลำไย, กระแสโลกาภิวัตน์
Establishment of Sustainability, Longan Economy, Globalization
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-01-05 19:16:30