ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต : กรณีศึกษาโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดระยอง
Participation of senior citizens in educational management of local administrative organizations affecting the quality of life: a case study of Schools for Senior Citizens in Rayong Province
สุวิมล ห้วงเกษม
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2565
การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้สูงอายุในประเทศไทยอันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ได้ส่งผลกระทบต่อการถดถอยทางเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างกว้างขวาง รัฐบาลจึงมีการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพโดยสนับสนุนให้ผู้สูงอายุตระหนักถึงคุณค่าและพึ่งพาตนเองเป็นหลัก การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดระยอง 2) ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดระยอง 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดระยอง และ4) สร้างสมการพยากรณ์การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดระยอง จำนวน 283 คน การสุ่มตัวอย่างเป็นการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนโดยมีเขตการปกครองเป็นชั้นของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดระยอง ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การทดสอบค่าเอฟ การทดสอบค่าที และการถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดระยอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดระยอง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการจัดการศึกษากับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดระยอง มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการจัดการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดระยอง สามารถอธิบายเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Y ̂ = 2.879** 0.401** X)และคะแนนมาตรฐาน (Z ̂y = 0.529** ZX) ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนผู้สูงอายุโดยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน การให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายทางสังคมในการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นในระยะยาว
The rapid increase of senior citizens in Thailand due to the advancements in science and medical technology, widely impacts the domestic economic recession. The government is prepared to assist the quality of life for the aging society through encouraging senior citizens to be self - realized and independent. The purposes of this research were: 1) to study the participative level of senior citizens in educational management of local administrative organizations in Rayong Province, 2) to investigate the level of quality of life for senior citizens registered by schools of senior citizens in Rayong Province, 3) to analyze the relationship between the participation of senior citizens in educational management of local administrative organizations and the quality of life for registered senior citizens in Rayong Province, and 4) to formulate the predictive equation of participation of senior citizens in educational management of local administrative organizations affecting the quality of life for registered senior citizens in Rayong Province. The sample size in this research was a group of 283 registered senior citizens in their schools under the jurisdiction of local administrative organizations in Rayong Province, and determined by proportional stratified random sampling method and administrative area – based sampling classification. The instrument for data collection was a five-rating scale constructed questionnaire involving the participation and quality of life of senior citizens in educational management of local administrative organizations in Rayong Province, and it had a reliability of 0.96. The data were analyzed by using: arithmetic mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, F-test, t-test, and Simple Linear Regression. The results showed that: 1) participation of senior citizens in educational management of local administrative organizations in Rayong Province overall was at the high level, 2) the quality of life for registered senior citizens in Rayong Province overall was at the highest level, 3) the relationship between participation of senior citizens in educational management and the quality of life for registered senior citizens in their schools under local administrative organizations in Rayong Province was statistically positive at the .01 significance level, and 4) participation of senior citizens in educational management affecting their quality of life in schools under local administrative organization in Rayong Province could be described as a predictive equation in terms of raw score (Y ̂ = 2.879** 0.401**X) and standard score (Z ̂y = 0.529** ZX) respectively. The chief executive of local administrative organizations can utilize the research result as a guideline for participative management in schools for senior citizens through encouraging the senior citizens to participate in operation control and evaluation, providing advice on health care, as well as establishing social networks supporting better quality of life in the long run.
การมีส่วนร่วม, คุณภาพชีวิต, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ผู้สูงอายุ
Participation, Quality of Life, Local Administrative Organization, Senior Citizen
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2022-05-27 08:48:36

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสารบทความวิชาการ

-
สุวิมล ห้วงเกษม. (2019). การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต : กรณีศึกษาโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดระยอง, K4PUYU4K, ฉบับที่ 2015, หน้าที่ Mama
Msks