ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด
A study on the role of strategic leadership of school administrators under Trat Primary Educational Service Area Office
ฏิมากร บุ้นกี้
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2563
การขับเคลื่อนองค์การไปสู่เป้าหมายที่ต้องการนั้นจำเป็นต้องอาศัยผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ซึ่งคอยติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ถือว่าเป็นศักยภาพที่สำคัญประการหนึ่งของผู้บริหารสมถานศึกษาในการพยากรณ์ทิศทางอนาคตขององค์การการพัฒนายุทธศาสตร์ในเชิงแข่งขัน และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและขนาดของสถาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำนวน 306 คน ซึ่งได้จากตารางเทียบกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน วิธีการสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบถามเกี่ยวกับการศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.28 – 0.88 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
The forward organization that is driven forward to desired objectives depends upon a visionary leader who tracks the changing situation continuously. Strategic leadership is an important ability of school administrators concerning the trend projection of the organization, competitively strategic development, and efficient resource utilization. The purposes of this research were to study and compare the role of strategic leadership of school administrators under Trat Primary Educational Service Area Office classified by working experience and school size. The sample used in this research was a group of 306 school administrators and teachers in Trat Primary Educational Service Area Office resulting from Krejcie and Morgan’s comparison table and proportionate stratified random sampling method. The research instrument was a questionnaire about the role of strategic leadership of school administrators under Trat Primary Educational Service Area Office. The instrument for collecting data was a five – rating scale questionnaire with a discrimination of between 0.28 – 0.88 and a reliability of 0.97. The data was analyzed by : percentage, mean, standard deviation, t-test, and one-way analysis of variance.
ภาวะผู้นำ, ผู้บริหารสถานศึกษา
Leadership, School administrators
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2021-01-05 15:58:27