ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล เรื่อง เศษส่วน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
The Development of Learning Activity Package using Problem Solving Processes of Polya with Bar Model Drawing Technique on Fractions to Promote Solving Math Problem Ability for Primary 5 Students
มลิวัลย์ โพธิมณี
สาขาหลักสูตรและการสอน
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2567
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนและหลังเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล เรื่อง เศษส่วน และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล เรื่อง เศษส่วน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 1 ห้องเรียน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล เรื่อง เศษส่วน 2) แบบวัดความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ และ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test)
The objectives of this research were to: 1) develop a learning activity package using Polya’s problem-solving processes with the bar model drawing technique on fractions for Primary 5 students, ensuring effectiveness according to the 80/80 criteria; 2) compare the students’ ability to solve math problems before and after using the learning activity package; and 3) compare the student’s learning achievements before and after using the learning activity package. The sample used in this research was a group of 30 Primary 5 students from Watthapsai School, Pongnamron District, Chanthaburi Province, obtained through multi-step random sampling, consisting of one classroom. The research instruments were: 1) a learning activity package using Polya’s problem-solving processes with the bar model drawing technique on fractions, 2) a test of the students’ ability to solve math problems, and 3) a learning achievement test on fractions. The statistics used for analyzing the collected data were: percentage, mean, standard deviation (S.D.), and t-test.
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเศษส่วน
Learning Activity Package, Polya’s Problem-Solving Processes with the Bar Model Drawing Technique, Ability to Solve Math Problem, Learning Achievement, Fractions
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2024-12-27 14:58:44