ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
School administrators’ skills affecting the academic administration of the early childhood program in Schools under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 1
อุรุพงษ์ งานฉมัง
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2564
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบวัดทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 46 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก รายข้อระหว่าง 0.22 - 0.79 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 ตอนที่ 2 แบบวัดการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 36 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.33 - 0.78 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ผู้สอน ตอบทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง 2) ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ผู้สอนตอบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย โดยรวมและรายด้านอยู่ในสูง 3) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมาก กับการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ Y ̂ = -0.97** 1.16**X และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z ̂y = 0.89** Zx จากสมการพยากรณ์ แสดงให้เห็นว่าทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการบริหาร งานวิชาการระดับปฐมวัย ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีทักษะในการวิเคราะห์สภาพปัญหาของงานและแผนงานเพื่อให้สามารถบริหารและพัฒนาสถานศึกษาได้ตรงตามนโยบายและเป้าหมายที่ตั้งไว้ อีกทั้งควรเป็นผู้ใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีความสามารถในการตัดสินใจได้อย่างรอบคอบและมีเหตุผล
The purposes of the research were: 1) to study the skills of school administrators in schools under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 1, 2) to study the academic administration of the early childhood programs in these schools, 3) to study the relationship between the administrators’ skills and the academic administration of the early childhood program in these schools, and 4) to create a predictive equation for how school administrators’ skills affect the academic administration of the early childhood programs. The sample was a group of 148 teachers and administrators in schools under Chanthaburi Primary Educational Service Area office 1 in academic year 2020. The research instrument was a two - part, 5 - rating scale questionnaire. The first part contained 46 items about the schools administrators’ skills and had a discrimination of between 0.22 .and. 0.79 and a reliability of 0.95. The second part contained 36 items about the academic administration of the early childhood programs and had a discrimination of between 0.33 and 0.78 and a reliability of 0.94. The statistics used for data analysis were : percentage, mean, standard deviation, Pearson product-moment correlation coefficient and simple regression analysis. The results of the research revealed that: 1) the skills of school administrators, overall was at a high level, 2) the academic administration of the early childhood programs, overall was at a high level, 3) the relationship between the skills of school administrators and the academic administration of the early childhood programs was positively correlated at the .01 level of significance, and 4) since the relationship was positively correlated at the .01 level of significance, a predictive equation can be created in the form of raw score Y ̂=-0.97** 1.16**X, and standard score of Z ̂ y = 0.89** Zx. This research shows that school administrators’ skills will affect the results and that they should have the necessary skills in problem analysis and work planning to manage and develop educational institutions. this should be performed in accordance with both applicable policies and goals set. This can also be used by someone who has interest in developing themselves as they could also have the ability to make informative and rational decisions.
ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา, การบริหารงานวิชาการ, การศึกษาระดับปฐมวัย
Skills of the school administrators, Academic administration, The early childhood program in schools
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2022-05-27 09:07:23