ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ความผูกพันของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี
Teachers and Educational Personnel’s Commitment toward Public Schools under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office
ลูกน้ำ เจนหัดพล
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2564
ครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์และปฏิบัติงานภายใต้เงื่อนไขสภาพแวดล้อมที่ดีย่อมมีความรู้สึกผูกพันต่อสถานศึกษา พร้อมที่จะทุ่มเทความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความผูกพันของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี จำแนกตามสถานภาพ ประสบการณ์ในการทำงาน ภูมิลำเนาเดิม ตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี จำนวน 337 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน การสุ่มตัวอย่างเป็นการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความผูกพันของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.43 - 0.94 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ความผูกพันของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก2) ผลการเปรียบเทียบความผูกพันของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน ภูมิลำเนาเดิม ตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามสถานภาพ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้บริหารสถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมความผูกพันของครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยใช้กลยุทธ์การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม การเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาสถานศึกษาอย่างยั่งยืน
Teachers and educational personnel who are perfectly fulfilled with fringe benefits and good working conditions tend to engage in their schools. They devote all of their capabilities to assigned duties so as to develop the desirable learners. This research aimed to investigate and compare the commitment of teachers and educational personnel toward public schools under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office classified by marital status, working experience, birthplace, job position and school size. The sample size in this research was a group of 337 teachers and educational personnel under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office, resulting from Krejcie and Morgan’s comparison table and proportional stratified random sampling method. The instrument for data collection was a five-rating scale constructed questionnaire about the commitment of teachers and educational personnel toward their public schools under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office with the discrimination power between 0.43 and 0.94, attached to its reliability of 0.98. The statistics used in analyzing quantitative data were: percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, and one-way analysis of variance. The results of the research were as follows: 1) the commitment of teachers and educational personnel toward public schools under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office in overall and specific aspects was shown at a high level, 2) the comparison of the commitment of teachers and educational personnel toward public schools under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office, when classified by working experience, birthplace, job position and school size, overall was statistically different at the .05 significance level. When classified by marital status, it overall had no statistically significant difference. The school administrator and concerned educational organizations can adopt this research as a guideline to encourage the commitment of teachers and educational personnel through participative management strategy, best practices of school administrators, as well as job incentive provisions leading to the sustainable development of public schools.
ความผูกพัน, ครู, บุคลากรทางการศึกษา
Commitment, Teacher, Educational Personnel
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2022-05-09 15:35:07