ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ประสิทธิภาพของน้ำทิ้งจากกระบวนการหมักก๊าซชีวภาพด้วยเปลือกทุเรียนและเมล็ดทุเรียนร่วมกับมูลไก่ต่อสมบัติทางเคมีของดิน การเจริญเติบโตและปริมาณธาตุอาหารของผักคะน้า และผักกาดหอม
Efficiency of biogas effluent from durian Shell and seed combined with chicken manure on soil chemical property, growth and nutrient concentrations of Chinese kale and lettuce
สาธิต ฉายกระจ่าง
สาขาเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
วิทยานิพนธ์
2564
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้น้ำทิ้งจากกระบวนการหมักก๊าซชีวภาพด้วยเปลือกและเมล็ดทุเรียนร่วมกับมูลไก่ต่อสมบัติทางเคมีของดิน การเจริญเติบโต และปริมาณธาตุอาหารของผักคะน้า และผักกาดหอม ดำเนินการทดลอง ณ อาคารวิจัยพืชศาสตร์ และห้องปฏิบัติการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design (CRD)) จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 6 สิ่งทดลอง ได้แก่ น้ำเปล่า (T1), น้ำทิ้งความเข้มข้น 25 เปอร์เซ็นต์ (T2), 50 เปอร์เซ็นต์ (T3), 75 เปอร์เซ็นต์ (T4), 100 เปอร์เซ็นต์ (T5) และปุ๋ยเคมี (T6) บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต ได้แก่ ความสูง จำนวนใบ ความกว้างใบ ความยาวใบ เส้นผ่าศูนย์กลางก้าน เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น ปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมด ปริมาณคลอโรฟิลล์ a ปริมาณคลอโรฟิลล์ b น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้ง เก็บตัวอย่างดินก่อนเริ่มการทดลองและสิ้นสุดการทดลอง เพื่อวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดิน ได้แก่ ค่า pH ค่าการนำไฟฟ้า (EC) ปริมาณไนโตรเจน ปริมาณฟอสฟอรัส และปริมาณโพแทสเซียมในดิน และเก็บตัวอย่างผักคะน้าและผักกาดหอมก่อนเริ่มการทดลองและสิ้นสุดการทดลอง เพื่อวิเคราะห์ปริมาณไนโตรเจน ปริมาณฟอสฟอรัส และปริมาณโพแทสเซียมในผักคะน้าและผักกาดหอม
The objective of this research was to study the efficiency of biogas effluent from durian shell and seed combined with chicken manure on soil chemical property, growth and nutrient concentrations of Chinese kale and lettuce conducted at Faculty of Agricultural technology, Rambhai Barni Rajabhat University. The experiments were carried out in a Completely Randomized Design (CRD) with 4 replications. Six treatments consisted of water (control T1), four concentrations of biogas effluent 25% (T2), 50% (T3), 75% (T4), 100% (T5) and chemical fertilizer (T6). The data of plant height, leaf number, leaf width, leaf length, branch diameter, stem diameter, total chlorophyll content, chlorophyll a content, chlorophyll b content, fresh weight and dry weight of plant were recorded. Soil sampling was done at the start and the end of the experiment for analyzing soil chemical property which consisted of soil pH, electrical conductivity (EC), nitrogen content, phosphorus content and potassium content in the soil. Plants were harvested as samples at the start and the end of the experiment to determine nitrogen content, phosphorus content and potassium content in Chinese kale and lettuce.
ทิ้งจากกระบวนการหมัก, ก๊าซชีวภาพ, ผักคะน้า, ผักกาดหอม
Biogas effluent, Chinese kale, Lettuce
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2021-12-20 10:32:24