ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
A Model of Community Participation in the Educational Management of the Child Development Center of the Local Administration Organization in Khlung District, Chanthaburi Province
หัสนัย เจนจบ
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2563
การมีส่วนร่วมของชุมชนมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้บรรลุตามเป้าหมาย เพราะสามารถดำเนินการโดยบุคลากรที่รู้และเข้าใจ สภาพปัจจุบันและความต้องการ ซึ่งมีความใกล้ชิดครู รู้จุดเด่นและข้อจำกัดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จึงควรมีรูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่เอื้อให้ผู้บริหารและบุคลากรทุกฝ่ายสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางดำเนินงานร่วมกัน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การวิจัยครั้งนี้จึงมีมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี 3) เพื่อประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี การวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันของมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการศึกษาของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขั้นตอนที่ 3 การสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มประชากรขั้นตอนที่ 1 ได้แก่ ครูผู้สอนและผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 27 คน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 37 คน และสมาชิกสภา จำนวน 153 คน ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 12 คน ผู้อำนวยการศึกษา จำนวน 2 คน นักวิชาการศึกษา จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 234 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างเจาะจงทุกคนและผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2 คน ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 คน ผู้อำนวยการกองการศึกษา 1 คน นักวิชาการศึกษา 1 คน ตัวแทนชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 2 คน ผู้แทนองค์กรชุมชน 1 คน ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 คน ครูโรงเรียนประถมศึกษาที่เกี่ยวข้อง 1 คน และตัวแทนผู้ปกครอง จำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 12 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างเจาะจง ใช้สำหรับการศึกษาในขั้นตอนที่ 2 และ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.37 ถึง 0.94 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 2) แบบสรุปการสนทนากลุ่ม และ3) แบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เนื้อหา
It is crucial and necessary for the communities to participate in the educational management of Child Development Centers to bring about achievement. It is operated by expert staff who not only comprehend the current situation and requirement, but who are also close to teachers and know well about the strengths and limitations of Child Development Centers. Therefore, the staff should create the model of communities’ participation in educational management of Child Development Centers, which is able to be applied and used cooperatively by the administrators and other staff. This gives rise to the developing quality of learning management for Child Development Centers. The purposes of this research were: 1) to study the current problems of communities’ participation in educational management of Child Development Centers under the Department of Local Administration, Khlung District, Chanthaburi Province; 2) to investigate the model of communities’ participation in educational management of Child Development Centers under the Department of Local Administration, Khlung District, Chanthaburi Province; and 3) to evaluate communities’ participation in educational management of Child Development Centers under the Department of Local Administration, Khlung District, Chanthaburi Province. This research included four procedures which were: 1) investigating the current problems of communities’ participation in educational management of Child Development Centers; 2) the education communities’ participation in educational management of Child Development Centers; 3) the creation of communities’ participation in educational management of Child Development Centers; and 4) style evaluation of communities’ participation in educational management of Child Development Centers. Step 1: The quantitative portion of the research questioned 234 stakeholders in the child Development Center of the Local Administration Organization of Khlung District, Chanthaburi in the academic year 2019. The group was selected by random sampling method and included 27 teachers, 37 local administration administrators, 153 council members, 12 permanent residents of the local government organization, 2 educational directors and 3 academicians. Step 2: The qualitative portion of the research interviewed 12 main informants who were selected by specific sampling. The group included 2 local administration organization administrators, 1 permanent administrative organization member, 1 director of education division, 1 educator, 2 village headmen, 1 community organization representative, 1 child development center teacher, 1 elementary school teacher and 2 representatives of parents. format evaluation form. The statistics used for data analysis were: mean, standard deviation, and content analysis.
รูปแบบ, การมีส่วนร่วมของชุมชน, การจัดการศึกษา, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
Model, Community Participation, Educational management, Child development center
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2021-09-28 10:17:32