ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
The Development of Mathematics Problem Solving Skills Training on Addition, Subtraction, Multiplication and Division for Pratomsuksa 2 Students
กัญญาภัค ธรรมสุข
สาขาหลักสูตรและการสอน
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2563
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของ แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ และ 3) เพื่อศึกษาเจตคติต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน, 2) นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอารีย์วัฒนา จังหวัดระยอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่ม 3 คน, (2) กลุ่ม 9 คน, (3) กลุ่ม 30 คน และ (4) กลุ่ม 35 คน ได้มาโดยการเลือกแบบการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้แก่ 1) แบบสอบถามความเหมาะสม, 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน มีค่าความเชื่อมั่น 0.63 และ 3) แบบวัดเจตคติต่อคณิตศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 การทดสอบที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา
The purposes to this research were: 1) to find the efficiency of Mathematics problem solving skills training on addition, substraction, multiplication and division, 2) to compare students’ learning achievement before and after using the mathematics problem solving skills training, and 3) to study the students’ attitude towards Mathematics after using the mathematics problem solving skills training. The sample groups were students from Prathomsuka 2 at Areewattana school in the second semester of academic year 2019 using purposive sampling and simple random sampling. They were divided into four groups: Each group consisted of three, nine, thirty and thirty - five students respectively. The research instruments were: 1) suitability questionnaire, 2) achievement test with a reliability of 0.63, and 3) students’ attitude questionnaire with a reliability of 0.88. The statistics comprised percentage, mean, standard deviation, the efficiency criterion (E1/E2) and t - test.
แบบฝึกทักษะ, ทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
Skills training, Mathematics problem solving skill
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2021-09-28 09:53:48