ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ โดยวิธีสอนแบบสื่อประสมกับวิธีสอนแบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง 1 (บูรวิทยาคาร)
A comparison of mixed media and SQ4R methods in reading comprehension Proficiency of Prathomsuksa 6 Students at Thetsaban Mueang Klung 1 School (Burawithayagan)
ชฎารัตน์ ภูทางนา
สาขาหลักสูตรและการสอน
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2563
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญก่อนเรียนและหลังเรียน โดยวิธีสอนแบบสื่อประสมกับวิธีสอนแบบ SQ4R 2) ศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิธีสอนแบบสื่อประสมกับวิธีสอนแบบ SQ4R 3) ศึกษา ดัชนีประสิทธิผลของการอ่านจับใจความสำคัญโดยวิธีสอนแบบสื่อประสมกับวิธีสอนแบบ SQ4R กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง 1 (บุรวิทยาคาร) อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 60 คน ใช้วิธีเลือก ตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน จับใจความสำคัญ โดยวิธีสอนแบบสื่อประสมกับวิธีสอนแบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง 1 (บูรวิทยาคาร) ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอน แบบสื่อประสมและวิธีสอนแบบ SQ4R 2) แบบวัดความพึงพอใจ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ การอ่านจับใจความ สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที
This research aimed: 1) to compare mixed media and SQ4R methods in reading comprehension proficiency by testing pre- and post-learning; 2) to study students’ satisfaction with mixed media and SQ4R methods; and 3) to study the effectiveness index of reading comprehension proficiency between pre- and post-learning with mixed media and SQ4R methods. The sample was a group of 60 Prathomsuksa students from Thetsaban Mueang Klung 1 School (Burawithayagan) in the second semester of 2017 and was selected by simple random sampling. The research instruments used were: 1) learning management plan for mixed media and SQ4R methods, 2) student satisfaction questionnaire about mixed media and SQ4R methods, and 3) achievement test for reading comprehension proficiency. The statistics used for data analysis were: mean, standard deviation and t-test.
การอ่านจับใจความ, วิธีการสอนแบบ SQ4R, วิธีสอนแบบสื่อประสม
Reading comprehension proficiency, SQ4R methods, Mixed media methods
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2021-02-17 11:06:14