ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

วิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง
School administrators’ vision affecting academic administration of schools under the Rayong Primary Educational Service Area Office
มาลัยพร สาวิสัย
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2563
วิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษามีความสำคัญในการนำไปสู่การสร้างนโยบายการพัฒนาระบบการศึกษา การพัฒนาผู้เรียนให้มีการพัฒนาทั้งในด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะการใช้ชีวิต ตลอดจนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา และ 4) สร้างสมการพยากรณ์วิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง ปีการศึกษา 2561 จำนวน 372 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน โดยใช้เครือข่ายโรงเรียนเป็นชั้นของการสุ่ม หลังจากนั้นคัดเลือกครูผู้สอนของแต่ละเครือข่ายโรงเรียนด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย
The vision of the school administrators is important in leading to the creation of policies, education system development, development of learners to develop in terms of knowledge, ability, life skills as well as desirable characteristics that may lead to a happy life in the society. The purposes of this research were: 1) to study the level of vision of school administrators, 2) to study the academic administration level of school administrators, 3) to study the relationship between the vision of the school administrators and the academic administration in the schools, and 4) to create predictive equations for the vision of school administrators affecting academic administration of education institutions under the Rayong Primary Educational Service Area Office. The sample was a group of 372 teachers in educational institutions under the Rayong Primary Educational Service Area Office in academic year 2018, selected by proportional stratified random sampling, the school network was used as a random sampling class. Teachers of each school network were also selected by the simple random sampling technique. The research tool was a 5-level rating scale questionnaire. The reliability of the questionnaire was 0.97. The statistics used in the data analysis were: mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient, and simple regression analysis
ผู้บริหารสถานศึกษา, การบริหารงานวิชาการ
School administrators, Academic administration
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2021-01-06 12:31:43