ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานแบบโครงงานเป็นฐานตามแนวทางสะเต็มศึกษา
A comparison of scientific creativity and learning achievement in heat transfer in the learning area of Science of Matthayomsuksa 1 students between using project-based learning and STEM project-based learning
ปิณิดา สุวรรณพรม
สาขาหลักสูตรและการสอน
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2563
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานตามแนวทางสะเต็มศึกษา 3) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนระหว่างนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานและที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานตามแนวทางสะเต็มศึกษา และ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนระหว่างนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานและที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสฤษดิเดช จำนวน 2 ห้องเรียน ไ ละ 30 คน ได้มาโดยการคัดเลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนหน่วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน และแผนหน่วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานตามแนวทางสะเต็มศึกษา แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าทีแบบไม่เป็นอิสระและแบบเป็นอิสระต่อกัน
The purposes of this research were: 1) to compare students’ scientific creativity before and after learning using project-based learning (PBL), 2) to compare students’ scientific creativity before and after learning using STEM project-based learning (STEM-PBL), 3) to compare students’ scientific creativity after learning using PBL and STEM-PBL, and 4) to compare students’ learning achievement after learning using PBL and STEM-PBL. The sample was a group of 30 Matthayomsuksa 1 students from 2 classes at Saritdidet school, and was selected by multi-stage random sampling. The research instrument were: PBL learning units, STEM-PBL learning units, a scientific creativity test, and a learning achievement test. The data were analyzed by: means, standard deviation, t-test for dependent and t-test for independent.
กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน
Project-based learning
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2021-01-06 12:30:15