ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
School administrators’ leadership in 21st century affecting the effectiveness of schools under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 1
รัตนา เหลืองาม
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2562
ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการกระตุ้นจูงใจให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาร่วมมือกันทำงานจนบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งจะนำไปสู่ความได้เปรียบในเชิงแข่งขันของสถานศึกษาภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิผลของสถานศึกษา และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 จำนวน 327 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย
The school administrators’ leadership is science and art in encouraging the teachers and educational personnel to work cooperatively until achieving the determined goal which will lead to a competitive advantage of the schools under the rapidly changing contexts of the society in a globalization era. The purposes of this research were to: 1) study the school administrators’ leadership level in the 21st century, 2) study the school effectiveness level, 3) study the relationship between the school administrators’ leadership in the 21st century and the school effectiveness, and 4) create a predictive equation of the school administrators’ leadership in the 21st century affecting the school effectiveness. The sample used in this research was a group of 327 teachers in the school under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 1. The sample size was calculate using Krejcie and Morgan’s comparison table and proportionate stratified random sampling method. The research instrument wes a five-level rating scale questionnaire with a reliability of 0.98. The statistics used for data analysis were: percentage, standard deviation, Pearson product-moment correlation coefficient and simple regression analysis.
ภาวะผู้นำ, ผู้บริหารสถานศึกษา
Leadership, School administrators
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-04-13 13:35:25