ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การศึกษาบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด
A study on the internal supervision role of basic education administrators in Chanthaburi, Rayong and Trat provinces
ญาณี ญาณะโส
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2562
การนิเทศภายในเป็นบทบาทสำคัญของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาครูผู้สอนอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่เพียงส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียนเท่านั้น แต่งยังเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้นสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด จำแนกตามสถานภาพ และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด จำนวน 375 คน โดยใช้ตารางเทียบกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการตรวจสอบความแตกต่างของเชฟเฟ่
Internal supervision ia an important role for the school administrators in systematically development effective learning and teaching and teaching management, which not only promotes the learners’ ability, but also enhances higher education quality according to the national education standard. The purpose of this research were to study and compare the internal supervision role of basic education administrators in Chanthaburi, Rayong and Trat provinces classified by status and size of the schools. Tha sample used in this research was a group of 375 school administrators and teachers in basic education schools in Chanthaburi, Rayong and Trat provinces. The sample size was calculated using Krejcie and Morgan’s comparison table and proportionate stratified random sampling method. The research instrument was a five-level rating scale questionnaire with a reliability of 0.98. The statistics used for data analysis were: percentage, mean, standard deviation, T-test, One-way ANOVA and Scheffe’s paired difference test.
การนิเทศภายใน, ผู้บริหารสถานศึกษา, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
Internal supervision, Administrators , Basic education
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-02-12 11:59:36