ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้การเรียนรู้กระบวนการเผชิญสถานการณ์ ในสาระพัฒนาสังคมและ ชุมชนของผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง
The Critical Thinking Ability by Using Confrontation Learning Process in Social and Community Development Course of Mathayomsuksa Students from Khao Chamao District Non-Formal and Informal Education Centre Rayong
จิระ ว่องไววิริยะ
สาขาหลักสูตรและการสอน
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2556
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - experimental Design) มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้การเรียนรู้กระบวนการ เผชิญสถานการณ์ในสาระพัฒนาสังคมและชุมชนของผู้เรียน ศูนย์การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอเขาชะเมา 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดอยางมีวิจารณญาณของผู้เรียน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอเขาชะเมา ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การเรียนรู้กระบวนการเผชิญสถานการณ์ในสาระพัฒนาสังคมและชุมชน กลุ่มตัวอยางที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การเรียนชุมชนตําบลห้วยทับมอญ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอเขาชะเมา ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2551 โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 1 ห้องเรียน จํานวน 25 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ได้รับการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้กระบวนการเผชิญสถานการณ์ในสาระพัฒนาสังคมและชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้กระบวนการ เผชิญสถานการณ์ แบบวัดความสามารถในการคิดอยางมีวิจารณญาณ
The purposes of this research were 1) to study the critical thinking ability of the students in Mathayomsuksa who were trained for critical thinking by using confrontation learning process and 2) to compare their critical thinking ability before and after being trained by using confrontation learning process. The sample was consisted of 25 students in Mathayomsuksa from Khao Chamao District Non-formal and Informal Education Centre in the second semester of the academic year 2008. The research instruments were lesson plans designed for using the critical thinking ability and the critical test. The statistical analysis employed were mean ( X ), standard deviation (S.D.), and t-test. The results were revealed that the students were trained for critical thinking ability by using confrontation learning process had higher critical thinking ability, showing .01 level of statistical significance.
การศึกษานอกระบบ,มัธยมศึกษาตอนต้น,ระยอง
Education,Rayong
จตุพร พุทธิศา แก้ไขล่าสุด 2015-09-18 10:47:13