ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การศึกษาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี
A study on superleadership of school administrators under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office
กฤติยา มามีชัย
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2562
ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญและมีส่วนรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาและการบริหารสถานศึกษาในยุคปัจจุบัน ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาและต้องส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรได้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการบริหารและพฤติกรรมด้านภาวะผู้นำเหนือผู้นำ เพื่อให้สามารถเป็นผู้นำได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 341 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.32-0.87 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการตรวจสอบความแตกต่างของเชฟเฟ่
Nowadays, school administrators have an important role and responsibility towards education management and school administration. Therefore, the school administrators need to improve themselves all the time and need to promote personnel development by giving them an opportunity to change their administrative and superleadership behaviors to be able to be a complete leadership. The purposes of this research were to study and compare the superleadership of school administrators under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office classified by status and size of the schools. The sample used in this research was a group of 341 school administrators and teachers in Chanthaburi province. The sample size was calculated using Krejcie and Morgan’s comparison table and proportionate stratified random sampling method. The research instrument was a five-level rating scale questionnaire with a discrimination of 0.32-0.87 and a reliability of 0.98. The statistics used for data analysis were : percentage, mean, standard deviation, T-test, One-way ANOVA and Scheffe’s paired difference test.
ภาวะผู้นำเหนือผู้นำ, ผู้บริหารสถานศึกษา
Superleadership, School administrators
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-01-27 10:08:16