ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี
A study on school administrator’s emotional quotient under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office
กนกพร โพธิมณี
สาขาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2562
ผู้นำที่จะประสบความสำเร็จนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับความฉลาดทางด้านสติปัญญาเพียงอย่างเดียวแต่ยังต้องรู้จักใช้ความฉลาดทางอารมณ์ในการโน้มน้าวใจผู้อื่นให้ร่วมมือกันทำงานจนบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ ความฉลาดทางอารมณ์จึงเป็นคุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของผู้บริหารสถานศึกษาในการรับรู้ถึงความต้องการของเพื่อนร่วมงาน การมองโลกในเชิงบวก และสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและขนาดของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี จำนวน 341 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางเทียบหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกนและการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
A successful leader not only depends on the emotional quotient but also on knowing how to use emotional quotient to persuade others to cooperate in working until achieving the required goals. The emotional quotient is one of the important characteristics for the school administrators in acknowledging their colleagues’ needs, having positive thinking towards the world and being able to control their emotion in any situation appropriately, which will help increase effectiveness in working. Emotional quotient under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office classified according to working experience and size of the schools. The sample used in this research was a group of 341 school administrators and teachers under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office. The sample size was calculated using Krejcie and Morgan’s comparison table and proportionate stratified random sampling method. The research instrument was a five-level rating scale questionnaire with a reliability of 0.97. The statistics used for data analysis were: percentage, mean, standard deviation, T-test and One-way ANOVA.
ความฉลาดทางอารมณ์, ผู้บริหารสถานศึกษา
Emotional quotient, School administrators
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-01-27 10:02:45