ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับกลไกชุมชนในการจัดการปัญหาช้างป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี
Local Residents’ Opinions towards Community Participation in the Management of the Wild Elephant Problem in Khao Soidao Wildlife Sanctuary, Soidao District, Chanthaburi Province
ฐิติมา เย็นเยือก
สาขาการปกครองท้องถิ่น
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ภาคนิพนธ์
2560
การศึกษาเรื่องความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับกลไกชุมชนในการจัดการปัญหาช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหาช้างป่าและการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการแก้ไขปัญหาช้างป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี วิธีการศึกษาใช้การวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชากรที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง ในเขตอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี จำนวน 397 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่าประชาชนกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหาช้างป่าของชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านของความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการการแก้ไขปัญหาช้างป่า แบ่งออกได้เป็น 2 ระดับคือระดับเห็นด้วย อาทิ การสร้างหอคอยเฝ้าระวัง การเคาะลำไม้ไผ่ให้เกิดเสียงดังไล่ช้าง การใช้หุ่นไล่กาไล่ช้าง ระดับไม่แน่ใจ อาทิ การจุดน้ำมันสาบเสือไล่ช้าง การเผาลำไม้ไผ่ให้เกิดเสียงดังไล่ช้าง การใช้ยาฉุนผสมน้ำมันก๊าดจุดไฟไล่ช้าง ความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาช้างป่าของชุมชนในภาพรวมอยู่ระดับเห็นด้วย สามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิบัติและการมีส่วนร่วม ในกระบวนการประเมินผล
This research aimed to study local residents’ opinions about and participation in various solutions to the wild elephant problem in Khao Soidao Wildlife Sanctuary, Soidao District, Chanthaburi province. The mixed method approach of the quantitative and the qualitative methods was used in this study. 397 registered voters in the district participated in the quantitative portion of the research. In-depth interviews and participatory observation were used for the qualitative portion. The findings showed the overall opinions of local residents toward the solutions to the wild elephant problems were at the uncertain level. The solutions which the residents agreed with were: building watchtowers, chasing elephants while making loud noises with bamboo, and using scarecrows. The solutions which the residents were uncertain about were: burning Siam weed oil, making load noises with burning bamboo, and burning a mixture of chewing tobacco and kerosene. Residents’ opinions towards participation in the solutions were at the level of agreement overall and when ranked from highest to lowest, they agreed with the following aspects: expressing opinions, making decisions, participating in the working process, and participating in the evaluation process.
ช้างป่า
Wild Elephant
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2018-08-16 14:08:33