ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

เศรษฐศาสตร์การเมืองของการท่องเที่ยวเชิงศาสนา : กรณีศึกษาการจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี
Economic politics of religious tourism : a case study of the annual fair at Khao Kitchakut Sacred Buddha Footprint, Chanthaburi Province
พระมหาหงษ์สา ดิษชัง
สาขาการปกครองท้องถิ่น
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ภาคนิพนธ์
2560
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมืองที่มีผลต่อ ความขัดแย้งและแนวทางในการจัดการความขัดแย้งเกี่ยวกับการจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี วิธีการศึกษาใช้การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงสำรวจและวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงสำรวจใช้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มาร่วมนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้เป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการท่องเที่ยว เชิงศาสนาและวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึกและการสัมภาษณ์กลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณเชิงเขาคิชฌกูฏ ผู้นำชุมชนและพระภิกษุ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมืองที่มีผลต่อความขัดแย้ง ได้แก่ ปัจจัยด้านผลประโยชน์เกี่ยวกับรายได้จากการทำบุญและเงินที่เก็บจากคิวรถขึ้นเขา ปัจจัยด้านการจัดสรรอำนาจ ได้แก่ การเป็นประธานในการจัดงานประจำปี นอกจากนี้ยังมีปัจจัยความเห็นที่แตกต่างในการจัดงานและการรับรู้ข่าวสารข้อมูลที่เข้าใจผิดมาเป็นปัจจัยเสริม ส่วนแนวทางในการแก้ไขปัญหาคือ เจ้าภาพในการจัดงานควรมาจากหลายฝ่ายเพื่อความชอบธรรมและควรแก้ไขปัญหาเรื่องการบริหารจัดการ ได้แก่ การเพิ่มจุดรักษาพยาบาลระหว่างขึ้นเขา ความเพียงพอของถังขยะ การจัดระเบียบทางเดินเท้าและการจัดทำป้ายบอกทางที่ชัดเจน เป็นต้น
The objectives of this research were to study the economic and political factors affecting conflicts, and to propose guidelines for conflict management at the annual fair at Khao Kitchakut Sacred Buddha Footprint, Chanthaburi Province. The mixed method approaches of survey and qualitative research were used in this study. A sample of 400 annual fair participants participated in the survey which focused on participants’ opinion and level of satisfaction toward religious tourism. Descriptive statistics were used for data analysis. The qualitative portion of the research was completed by conducting in-depth and focus group interviews with local residents, community leaders and Buddhist clergy. The results were as follows: 1) There were economic benefits from the sale of religious supplies at the annual fair, and there was a fee collected from each vehicle; 2) Political power was allocated by the host to the different organizations that ran the fair; 3) Conflicts arose from different opinions regarding how to organize the fair, as well as misunderstandings based on incorrect information. Proposed guidelines for conflict management included: changing single host to collaborative hosting of participating organizations, establishing emergency medical contingency and waste management plans, and placing informational guideposts and directional signage on the trail to the Sacred Buddha Footprint at Khao Kitchakut, Chanthaburi Province.
เศรษฐศาสตร์การเมือง, การท่องเที่ยวเชิงศาสนา
Economic politics, Religious tourism
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2018-02-07 14:57:26