ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ความพร้อมของประชาชนที่มีต่อการรองรับความเป็นประชาคมอาเซียน (AEC) : กรณีศึกษาจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก จังหวัดตราด
The readiness of people for the ASEAN community : A case study of Ban Hat Lek permanent border crossing point in Trat province
พิศิษฐ์ ดาวเรือง
สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2559
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความพร้อมของประชาชนที่มีต่อการรองรับความเป็นประชาคมอาเซียน(AEC) : กรณีศึกษาจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก จังหวัดตราดในด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2) ศึกษาเงื่อนไขที่มีอิทธิพลต่อการรองรับความเป็นประชาคมอาเซียน และ 3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคที่มีต่อการรองรับความเป็นประชาคมอาเซียน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกและใช้เทคนิคสามเส้า (Triangulation Technique) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญในการศึกษา จำนวน 12 คน ผลการวิจัย พบว่าความพร้อมของประชาชนที่มีต่อการรองรับความเป็นประชาคมอาเซียนทั้ง3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาชนส่วนใหญ่ทราบถึงความสำคัญของการรวมกันเพื่อเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนมีความเสมอภาคไม่มีความขัดแย้งในชาติสมาชิก ต่อต้านการทุจริต ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาลช่วยเหลือกันเมื่อเกิดภัยพิบัติ อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขปลอดภัย 2) ด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีการต่อรองทางด้านการค้าจากภูมิภาคอื่น ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการส่งเสริมการลงทุน การท่องเที่ยวการค้าเสรี การลดกำแพงภาษี แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในเรื่องข้อตกลงต่าง ๆ รวมทั้งอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา3) ด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนมีการเชื่อมความสัมพันธ์ ความไว้ใจซึ่งกันและกัน มีการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี ความเป็นอยู่ เอกลักษณ์ของประชากรอาเซียนมีวัฒนธรรมที่คล้ายกัน มีความเอื้ออาทรความร่วมมือในระดับภูมิภาค มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ข้อเสนอแนะสำคัญ รัฐควรกำหนดนโยบายในเรื่องการศึกษา ส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องของการเป็นประชาคมอาเซียนทั้งสามด้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรนำนโยบายของรัฐไปปฏิบัติและส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องของความพร้อมของประชาชนที่มีต่อการรองรับความเป็นประชาคมอาเซียน
This research aimed 1) to study the readiness of people to the ASEAN Community: a case study of Ban Hat Lek Permanent Border Crossing Point in Trat Province in the aspects of ASEAN Political –Security Community (APSC), ASEAN Economic Community (AEC), and ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC), 2) to examine the condition influencing the ASEAN Community, and 3) to investigate the problems affecting the ASEAN Community. The qualitative research methodology was used in this study with the use of in-depth interviews and triangulation technique. The data were collected from 12 key informants. The following findings reported the 3 aspects of people’s readiness to the ASEAN Community: 1) APSC, most people realized the importance of the community integration for the political security in ASEAN. The equality, non-conflicts among the ASEAN nations, the resistance to corruption, drug, and human trafficking, the rule of law and good governance promotion, the support to natural disaster situations, and peaceful co-existence were found, 2) AEC, the trade negotiations with other regions, incomes increased from the investment promotion, free trade and tourism, and tariff reductions were shown; however, people still lack the knowledge of agreements and the exchange rate, and 3) ASCC, the relationship bonding, trust, preservation of traditions, way of life, and identity among the similar ASEAN cultures, generosity, regional cooperation, and cultural exchange were indicated. The recommendations were given in this study. Thai government should set the educational policy promoting the 3 pillars of the ASEAN Community. The government plan should be put into practice by local administrative organizations and local people should be prepared and provided with the knowledge of the ASEAN Community.
ประชาคมอาเซียน
ASEAN
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2017-02-16 10:54:24