ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
The Effects of The STAD Cooperative Learning Technique towards Learning Achievement and Critical Thinking Skills in Mathematics of Pratomsuksa 6 Students.
วัลยา บุญอากาศ
สาขาหลักสูตรและการสอน
คณะครุศาสตร์
วิทยานิพนธ์
2556
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนทีกำลังศึกษาอยู่ในระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที 2 ปี การศึกษา 2555 ตําบลหนองตาคง อําเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี สังกัดสํานักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 จํานวน 43 คน เป็นกลุ่มทดลอง จํานวน 18 คนและกลุ่มควบคุมจํานวน 25 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Samping) โดยใช้แบบทดสอบรายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตรวจสอบความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนแล้วจับฉลากเลือกนักเรียนที่มีความรู้ใกล้เคียงกันมาเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้เพื่อการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัด การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD จํานวน 16 แผ่น แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จํานวน 16 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบทดสอบวัดความสามารถด้านทักษะ การคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ การทดสอบค่าที (t - test Independent)
The objectives of this research are as follows; 1) to do a comparative study of the learning outcomes between students with the application of STAD technique and students who are conventionally taught in classroom, 2) to compare the analysis skills of students with the application of STAD technique and students who learn in conventional method. The targeted sample were 43 students in 6th- grade studying in the 2nd semester of 2012 and were in a school under the supervision of 2nd regional education office, Nong Ta Kong district, Pong Nam Ron, Chanthaburi province. This sample consisted of a tested group of 18 students and a controlled group of 25 students by applying Simple Random Sampling method. These two groups were selected by using 6th- grade mathematics test, thenrandomly select students with similar abilities in order to form the tested and controlled groups. The research instruments include 16 study plans of STAD technique, 16 conventional study plans, a number of test paper for learning outcomes and measuring the analysis skills. The statistic tools used in this research include the average value, standard deviation (S.D.) value, andt-test independent value.
คณิตศาสตร์,นักเรียน
Mathematics,Students
แก้ไขล่าสุด 2015-09-25 16:08:13