ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  RBRU e-Research

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

รายการข้อมูลวิทยานิพนธ์

บทบาทของวัดในฐานะที่เป็นพื้นที่สาธารณะของชุมชนท้องถิ่น : กรณีศึกษาวัดไผ่ล้อม (พระอารามหลวง) ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
Roles of buddhist monastery as community is public space : case study of wat phai lom (the royal temple) In Chanthanimit Sub-district Muang District Chanthaburi Province
เดชฤทธิ์ ศุภพร
สาขาการปกครองท้องถิ่น
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ภาคนิพนธ์
2556
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของประชาชนและความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อบทบาทของวัดในฐานะที่เป็นพื้นที่สาธารณะของชุมชนท้องถิ่น การวิจัยได้เลือกวัดไผ่ล้อม (พระอารามหลวง) ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เป็นกรณีศึกษา วิธีการศึกษาในที่นี้จะใช้การวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method) ระหว่างวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ในการวิจัยในเชิงปริมาณจะใช้การวิจัยเชิงสํารวจ โดยประชากรที่เป็ นเป้าหมาย การวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป ซึ่งอาศัยอยูรอบวัดไผ่ล้อม (พระอารามหลวง) ในเขตตําบลจันทนิมิต และเก็บตัวอย่าง จํานวน 400 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพจะใช้การ สัมภาษณ์ แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้อง (Key Informants) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้หรือรู้จักบทบาทของวัดระดับปานกลาง เนื่องมาจากปัจจัยที่เกี่ยวกับระดับ การมีส่วนร่วมการเข้าร่วมกิจกรรมของวัด รวมถึงการประชาสัมพันธ์ของตัววัดเองด้วย ส่วนความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทของวัดอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน เนื่องมาจาก ปัจจัยที่เกี่ยวกับระดับการรับรู้ของกิจกรรม รวมถึงประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ของวัดไผ่ล้อม (พระอารามหลวง)
The purpose of this research was to study the public recognition and expectation of the Buddhist Monastery is roles as the community is public space. Wat Phai Lom (the Royal Temple) in Chanthanimit Sub-district, Muang District in Chanthaburi was examined in this study. The mixed method model of the qualitative and quantitative survey research was applied to this study. The research populations were the 400 people with over 15 years of age living in the area of Wat Phai Lom (the Royal Temple) in Chanthanimit Sub-district. The qualitative research method of the in-depth interviews with the key informants was used in this study. The major findings identified the moderate levels of people is recognition in the temple roles. This resulted from the frequency of participation in the temple is activities and the information publication done by the temple. The results also showed the moderate levels of people is expectation of the temple roles. This resulted from the people recognition levels and the effectiveness of the information publication in the community performed by the temple
วัด, ชุมชน
Monastery, Community
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2015-09-23 09:05:31